กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่่งสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทยในชุมชนบ้านป่าเล
รหัสโครงการ 2565-L3311-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 บ้านป่าเล
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 8,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 บ้านป่าเล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมีแน้วโน้มสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนทั้งในด้านสุขภาพและสังคม การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ แบบแผนการเกิดโรคได้เปลี่ยนมาเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัยและไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัญหาปวดข้อทำให้ผู้สูงอายุเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวอันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพชีวิตและจิตใจ อีกทั้งสูญเสียเวลาและค่ารักษาเป็นจำนวนมาก จากการคัดกรองตามแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : ฺBGS) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีประชากรผู้สูงอายุพื้นที่หมู่ที่ 7 จำนวน 172 ราย ที่ได้รับการคัดกรองอาการปวดเข่าทั้งสิ้น 170 ราย มีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าซึ่งเสียงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.64 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)
ปัจจุบันการรักษาโรคเข่าเสื่อมยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจังแม้แต่ตัวผู้ป่วยก็ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเอง และมักจะหันไปพึ่งยา ซึ่งการรับประทานยาเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการข้างเคียงและมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นการบำบัดแบบไม่ใช้ยาหรือการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือก จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาโรคเข่าเสื่อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย

ผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น และสามารถทำแผ่นยาพอกเข่าสมุนไพรใช้ที่บ้านเองได้

ผู้สูงอายุมีการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น และสามารถทำแผ่นยาพอกเข่าสมุนไพรใช้ที่บ้านเอง ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3 เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ยาแก้ปวดรุนแรงในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า

ลดอัตราการใช้ยาแก้ปวดรุนแรง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าทุเลาลง 2.การรักษาด้วยหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยด้วยวิธีการพอกเข่าเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น 3.ผู้สูงอายุมีทางเลือกในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2565 10:13 น.