กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังมารดาและบุตรในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
รหัสโครงการ 61-L2480-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 46,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตัซนีมต่วนมหญีย์
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดะ แก้วกรด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.249,101.875place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 มี.ค. 2561 19 มี.ค. 2561 46,100.00
รวมงบประมาณ 46,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ณ ปัจจุบันหญิงมีครรภ์มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดทำให้เราต้องเตรียมตัวต้้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดมีความปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็อาจทำให้พัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทีควรจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ในปี 2560 พบว่า อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 75.62 (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75) อัตราโลหิตจางในหญิงต้้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 12.50 (เกณฑ์ร้อยละ 12) และอัตราการคลอดบุตรน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 18.75 (เกณฑ์ร้อยละ 7.00) ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่สูงปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการมีภาวะเสี่ยงต่อการหญิงตั้งครรภ์และบุตร และส่งผลให้ไม่ได้รับการวางแผนการป้องดันดูแล ถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูง (High Risk)
ดังนั้น รพ.สต.มะรือโบออกและ รพ.สต.บ้านปิเหล็ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ จึงได้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตรให้ได้รับความปลอดภัย มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งมารดาและบุตร จังได้จัดทำโครงการส่งเสริมเฝ้าระวังมารดาและบุตรในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดในตำบลมะรือโบออก อำเจอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  1. ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
190.00
2 2. เพื่อลดภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด
  1. ไม่เกินร้อย 10 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด
190.00
3 3. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดและภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละ 70 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดและภาวะโภชนาการ
190.00
4 4. ตัวแทนหญิงวัยเจริญพันธ์และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู ความเข้าใจเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธ์
  1. ร้อยละ 70 ตัวแทนหญิงวัยเจริญพันธ์และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธ์
190.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมชี้แจงและวิเคราะห์ข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กพร้อมแลกเปลี่นนการเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่กับตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนหญิงวัยเจริญพันธ์ ตัวแทนผู้นำชุมชน เพื่อค้นหา ติดตาม และร่วมกันพิจารณาผลกระทบของปัญหาและกำหนดแนวทางของการแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในพื้นที่
  2. เจ้าหน้าที่สำรวจและเตรียมข้อมูลตัวแทนหญิงวัยเจริญพันธ์ ตัวแทนผู้นำชุมชน และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข
  3. เจ้าหน้าที่สำรวจและเตรียมข้อมูลการอบรม เรื่องการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ การสอนภาวะโภชนาการ และการดุูแลหลังคลอด ให้กับหญิงตั้งครรภ์รายใหมีและหญิงตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ ทุกราย
  4. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข โดยให้แผ่นตรวจปัสสาวะ ตรวจที่บ้านและบริการตรวจการตั้งครรภ์ทุกวันยกเว้นวันหยุดราชการในสถานบริการ เพื่อให้ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  5. จัดอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธ์แก่ตัวแทนหญิงวัยเจริญพันธ์และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อสามารถแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่่และเด็กในพื้นที่
  6. จัดอบรมเรืองการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ การสอนภาวะโภช่นาการ และการดูแลหลังคลอดตลอดจนการเว้นช่วงระยะการมีบุตร แ่กหญิงตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ จนได้รับการคลอดที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
  7. ประเมิรความรู้ก่อนและหลังเข้าการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แบบทดสอบความรู้หลังการอบรม ร้อยละ 70
  2. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ร้อยละ 10
  4. ่มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 70
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2560 14:43 น.