กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดีเริ่มที่ซี่แรก
รหัสโครงการ 61-L2480-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 7,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตัซนีมต่วนมหญีย์
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดะ แก้วกรด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.249,101.875place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 มี.ค. 2561 19 มี.ค. 2561 7,800.00
รวมงบประมาณ 7,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

………สุขภาพ มีองค์ประกอบ 4 ส่วนด้วยกัน คือ สุขภาพกาย (Physical Health), สุขภาพจิต (Mental Health), สุขภาพสังคม (Social Health) และสุขภาพจิตวิญญาณ (Spiritual Health) สุขภาพช่องปากเป็นหนึ่งในสุขภาพกาย การมีสุขภาพช่องปากที่ดีจึงช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพในช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2556) จากรายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555 ในเด็กอายุ 3 ปีมีค่าเฉลี่ย dmft (ฟันแท้ผุ ถอน อุด) ระดับประเทศเท่ากับ 2.7 ซี่/คน ภาคใต้มีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงสุดใน คิดเป็นร้อยละ 61.0 และมีค่าเฉลี่ย dmftเท่ากับ 3.1 ซี่/คน ซึ่งเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีผลให้ฟันแท้ผุมากขึ้นด้วย (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2555) เมื่อฟันแท้ผุก็จะส่งผลต่อฟันในวัยต่างๆ ต่อไป
เพื่อให้การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ผลอย่างยั่งยืนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันดีเริ่มที่ซี่แรกขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ชุมชนร่วมจัดกิจกรรม ได้รับความรู้ ตลอดจนวางแผนการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคช่องปากให้กับคนในชุมชน เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๓ ปี จำนวน 50 คน ในตำบลมะรือโบออก วัตถุประสงค์

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี มีความรู้เรื่องโรคฟันผุ และการดูแลทันตสุขภาพ

29.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี สามารถทำความสะอาดช่องปากให้บุตรได้ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กอายุ0-3ปี สามารถทำความสะอาดช่องปากให้บุตรถูกต้อง 

29.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,800.00 1 7,800.00
20 มี.ค. 61 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและให้ความรู้โรคฟันผุของเด็กอายุ ๐-๓ ปี 0 7,800.00 7,800.00

-

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กอายุ0-3ปี สามารถทำความสะอาดช่องปากให้บุตรถูกต้อง
-เป็นชุมชนนำร่องในการดูแลสุขภาพช่องปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2560 14:50 น.