กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ,เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ,คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งหว้า หัวข้อ อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงวัย ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลโรค3 พฤษภาคม 2566
3
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
    ขั้นตอนวางแผนงาน
    1. ขั้นเตรียมการ           1.1 ประชุม เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งหว้า เพื่อจัดทำร่างโครงการฯ 1.2 เขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้าเพื่ออนุมัติโครงการ 1.3 เสนอแผนการดำเนินกิจกรรมขอรับการสนับสนุน   2.  ขั้นดำเนินงาน           2.1 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการเพื่อขอความคิดเห็นจากสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งหว้า           2.2 ดำเนินการตามแผน           2.3 ประเมินผล           2.4 จัดทำรายงานไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า   3. กิจกรรมที่จะดำเนินงานตามโครงการ           3.1  ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ,เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ,คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
        หัวข้อ อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและให้ความรู้ความเข้าใจสุขภาพผู้สูงวัย ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลโรค 3.2  ติดตามประเมินผล โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ 3.3  สรุปและรายงานผลภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินงานตามโครงการอบรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ได้จัดกิจกรรมในวันพุธ        ที่ ๓ พฤษภาคม  ๒๕๖๖  ณ  บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุตามเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน ๙๐ คน อบรมเรื่อง สุขภาพผู้สูงวัย ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลโรค สูงวัยอย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพและภาวะโภชนาที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากและระดับดี ดังนี้ ๑. ด้านความพร้อมของหน่วยงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า การแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์โครงการฯ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๗  และระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๓  สถานที่จัดโครงการฯ อยู่ในระดับดีมาก  คิดเป็นร้อยละ  ๕๔.๔๔  และระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๕๖ ความเหมาะสมช่วงเวลา/ระยะเวลา  อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ  ๕๒.๒๒  และระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๘ ๒.ด้านความรอบรู้ในเนื้อหาของวิทยากร  อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ  ๔๘.๘๙  อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ  ๕๐.๐๐ และอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๑  การสื่อสาร/ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ  ๔๘.๘๙  อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ  ๕๐.๐๐ และอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๑  การตอบคำถามของวิทยากร อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑๑  อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๘ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๑ เปิดโอกาสให้ซักถามหรือมีส่วนร่วม อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑๑  อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๘ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๑ ๓.ด้านเอกสารประกอบ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๒๒ และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๗๘ เจ้าหน้าที่ดูแลโครงการฯ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๘๙ และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑๑ อาหารว่างและเครื่องดื่ม อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ อาหารเที่ยง อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๘๙ และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๑๑ ๔.ด้านความรู้ความเข้าใจ ก่อน เข้าร่วมโครงการฯ อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๗.๗๘ อยู่ในระดับปานกลาง      คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๐๐ และอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๒๒ และ ความรู้ความเข้าใจ หลัง เข้าร่วมโครงการฯ      อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๓๓ และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๖๗ ๕.ด้านประโยชน์และความรู้ที่ได้จากการเข้าโครงการฯ อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๓๓  และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๖๗ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๔๔และอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๕๖ เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์และปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ห่างไกลโรค และมีภาวะโภชนาที่เหมาะสม