กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพแผงลอยบทบาทวิถี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 1 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 110,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทรงสิริมะลีวัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ แผงลอยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 3 ตำบล ต.จะบังติกอ ต.อาเนาะรู ต.สะบารัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสภาพสังคมเมืองปัตตานีเป็นเมืองที่มีประชาชนหนาแน่น มีความสะดวกสบาย เร่งรีบ รวดเร็ว ไม่เว้นกระทั่งเรื่องการรับประทานอาหาร จึงไม่มีโอกาสให้เลือกมากนัก การจะหาอาหารที่ปลอดภัยเป็นเรื่องยากเพราะเดี๋ยวนี้เน้น อิ่ม-เร็ว-ถูก ส่งผลให้แผงลอยบนทางเท้าจำหน่ายอาหารพวก แกงถุง ข้าวกล่อง การประกอบกิจการแผงลอยเป็นสถานที่ที่มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันของคนเมืองปัตตานี

ปัจจุบันมีเทศบาลเมืองปัตตานี มีตำบลต้องรับผิดชอบ 3 ตำบล คือ (1). ตำบลจะบังติกอ (2) ตำบลอาเนาะรู (3) ตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีการจำหน่ายอาหารบนแผงลอยเร่ขายจำนวนมาก จำหน่ายอาหารในช่วงเช้า/ช่วงเย็นจากการสำรวจสอบถามผู้ประกอบการไม่เคยผ่านการอบรมเรื่อง สุขาภิบาลอาหารอาหาร ทำให้อาหารอาจถูกปนเปื้อนได้โดยเชื้อโรค สิ่งสกปรกและสารพิษต่างๆ ในขั้นตอนการเตรียม ปรุงประกอบและการจำหน่ายอาหารซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารไม่สะอาดไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อันได้แก่ ด้านกายภาพเช่น แก้ว,หิน ฯลฯ ด้านเคมี พิษจากสาร เชื้อโรค ฯลฯ ด้านชีวภาพ พยาธิ ฯลฯ ฉะนั้น การจัดการควบคุมป้องกันอาหารให้สะอาดปลอดภัย จึงต้องมีการควบคุมปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้สกปรกได้แก่ ปัจจัยที่1 บุคคล ปัจจัยที่2 อาหาร ปัจจัย3 ภาชนะอุปกรณ์ ปัจจัยที่4 สถานที่ปัจจัยที่5 สัตว์แมลงนำโรค การสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ทั้งหมด 3 ตำบล พบว่า ช่วงเช้าประมาณ 100 แผง ประกอบด้วย ตำบลจะบังติกอ ประมาณ 40 แผง ตำบลสะบารัง ประมาณ 40 แผง ตำบลอาเนาะรู ประมาณ 20 แผง ส่วนแผงลอยช่วงเย็นในเขตพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 110 แผง ประกอบด้วย ตำบลจะบังติกอ ประมาณ 30 แผง ตำบลสะบารัง 40 ประมาณ แผง ตำบลอาเนาะรู ประมาณ 40 แผง นอกจากนี้ประชาชนได้มีการร้องเรียนเรื่องขยะที่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตามแผงลอยบนทางเท้าหน้าบ้านของประชาชน สถานที่เอกชน ฯลฯ โดยผู้ประกอบการทิ้งขยะจำพวกเศษอาหาร และถุงพลาสติกลงคูระบายน้ำ ทำให้มีกลิ่นเหม็น มักก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันตามท่อระบายน้ำ เมื่อถึงฤดูฝนตกหนักทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมน้ำขังดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตตานี จึงจัดโครงการพัฒนาคุณภาพแผงลอยบนบาทวิถี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2561 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร(CFGT) เป็นการพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนและสะอาดปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความสามารถนำไปปฏบัติได้

1.ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและสามารถนำไปปฏิบัติได้

2 2.เพื่อให้แผงลอยผ่านมาตรฐานหลักเกณฑ์

ร้อยละ 60 แผงลอยผ่านมาตรฐานหลักเกณฑ์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 110.00 0 0.00
1 พ.ค. 61 1.ขั้นเตรียมการ 0 110.00 -
1 พ.ค. 61 2. ขั้นดำเนินการ 0 0.00 -
1 พ.ค. 61 ขั้นสรุปผล - ติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน 0 0.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.2 ประชุมเตรียมแผนงาน 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 สำรวจและทำทำเบียนข้อมูลแผงลอยจำหน่ายอาหาร 2.2 แจกหนังสือให้กับผู้ประกอบการแผงลอย 2.3 จัดอบรมผู้ประกอบการแผงลอย 2.4 ลงตรวจมาตรฐานแผงลอยจำหน่ายอาหาร พร้อมตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 2.5 ประกวดแผงลอย(ตามรายละเอียดแนบท้าย) 2.6 มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหาร 2.7 พิธีมอบป้ายพร้อมมอบรางวัล 3.ขั้นสรุปผล - ติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แผงจำหน่ายอาหารได้รับการพัฒนาแผงยกระดับการพัฒนามาตรฐานทำให้ประชาชนได้รับอาหารปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น 2.แผงจำหน่ายอาหารสินค้าได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์สุขาภิบาลฯ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2560 10:18 น.