กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตาดีกาปลอดบุหรี่ หมู่ที่ 1 บ้านปาตา ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8420-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด(ตาดีกา)บะฮ์รุลวาซีอะฮ์ บ้านปาตา
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลการิง บาราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.899161,101.37085place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 147 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน
40.00
2 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)
10.00
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน
1.00
4 ปริมาณการสูบยาสูบของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเฉลี่ยต่อวัน
70.00
5 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
40.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในภาวะปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาต่างๆที่ตอนนี้สังคมไทยยังแก้ไม่ได้อีกมากมาย และในตอนนี้ปัญหาที่หนักหน่วงเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง ก็คือ การติดบุหรี่ของคนไทย ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ยังไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายต่อตนเองมากแค่ไหน เป็นการเพิ่มอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น จึงเป็นอีกปัญหาที่สมควรจะได้รับการแก้ไขอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่โดยการใช้มาตรการหลายอย่าง ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ การออกกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่และนโยบายขึ้นภาษีบุหรี่ แต่จากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่า การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ไม่สามารถทำได้ในประชากรทุกกลุ่ม กลุ่มที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบดำเนินการแก้ปัญหา คือ กลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตสำคัญของประเทศมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น และกลุ่มสตรีที่พบว่า มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงช้า และมีอายุที่เริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้น จากการที่ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บะฮ์รุลวาซีอะฮ์ บ้านปาตา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมของสูบบุหรี่ในโรงเรียน มัสยิด และชุมชน สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกพื้นที่ ไม่ได้มีพื้นที่กำหนดเฉพาะเจาะจง จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วโอกาสสูบติดต่อกันหลายม้วนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ซึ่งมีผลกระทบและภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)บะฮ์รุลวาซีอะฮ์ จึงจัดโครงการตาดีกาปลอดบุหรี่ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น ให้ชุมชนและสังคมปลอดบุหรี่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ต่อร่างกาย

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องภัยของบุหรี่

65.00 70.00
2 2.เพื่อรณรงค์ให้โรงเรียนตาดีกา เป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่

ร้อยละ 70 ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญแก่บุตรหลานในเรื่องบุหรี่

60.00 70.00
3 3.เพื่อให้โรงเรียนตาดีกาเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

ร้อยละ 80 ครูนักเรียน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่

55.00 75.00
4 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

40.00 10.00
5 เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)

10.00 5.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

2.00 5.00
7 เพื่อลดปริมาณการสูบยาสูบของผู้สูบบุหรี่ อายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน

ปริมาณการสูบยาสูบของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเฉลี่ยต่อวัน

70.00 50.00
8 เพื่อเพิ่มจำนวนการมีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน

1.00 10.00
9 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

40.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,330.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภัยของบุหรี่ 0 21,020.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์เลิกบุหรี่ ปอดปลอดภัย 0 6,210.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมถอดบทเรียน ภัยของบุหรี่ 0 2,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ต่อร่างกาย 2.ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักและให้ความสำคัญกับบุตรหลานในเรื่องภัยของบุหรี่ 3.ทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 10:26 น.