กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็ง
รหัสโครงการ 66-L5278-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 15 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 146,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานป้องกันและควบคุมโรคกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบ้านพรุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองบ้านพรุ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 146,000.00
รวมงบประมาณ 146,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1165 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
15.00
2 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
10.15

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับสองของมะเร็งในหญิงไทย พบได้ในผู้หญิงตั้งแต่วัยสาวถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ ๓๐ - ๕๐ ปี โดยทุก ๆ ๒ นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต ๑ คน ขณะที่หญิงไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก ๗ คน/วัน เป็น ๑๔ คน/วัน เสียชีวิตประมาณ ๔,๕๐๐ คน/ปี โดยในแต่ละปีจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๘,๐๐๐ ราย/ปี ซึ่งร้อยละ ๔๐ - ๕๐ จะเสียชีวิตจากโรค และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยหญิงไทยส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมักเกิดความอายความกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลามโดยโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือเพียงตรวจทุก ๒ – ๓ ปี ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตรา การป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
จากผลการดำเนินงานปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา เทศบาลเมืองบ้านพรุ ได้ส่งต่อให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน ๒๓๕ ราย ในจำนวนนี้มีผู้รับบริการรายเก่า จำนวน ๒๐๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๒๓ ของผู้รับบริการทั้งหมด ผู้รับบริการรายใหม่ จำนวน ๓๐ รายคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๗๗ ของผู้รับบริการทั้งหมด พบเซลล์ผิดปกติ จำนวน ๑ ราย คิดเป็น ร้อยละ ๐.๔๓ พูดคุยให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ และส่งต่อโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา มีผลการตรวจปกติ ไม่พบเซลล์มะเร็ง จำนวน ๒๓๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๕๗ ในจำนวนนี้จำแนกตามเชื้อที่พบได้ให้คำแนะนำและการรักษา งานป้องกันและควบคุมโรค ฯ เทศบาลเมืองบ้านพรุ จึงได้จัดทำโครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็ง ประจำปี ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้นการตรวจ Pap Smear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม และสร้างเสริมสุขภาพ คนบ้านพรุห่างไกลโรคด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี)

ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ลดลง

10.15
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 ม.ค. 66 ประชาสัมพันธ์ให้ความรุ้ 300 11,000.00 10,608.00
1 ก.พ. 66 - 31 ก.ค. 66 คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 300 135,000.00 104,850.00
รวม 600 146,000.00 2 115,458.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกในระยะเริ่มแรกได้ 2. สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 ปี
3. สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคนตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี
4. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 13:06 น.