กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
รหัสโครงการ 66-L7252-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 39,530.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมชาย ชูเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนงลักษ์ สืบชนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เด็กและเยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคม
        กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้การป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่  ให้ความสำคัญและกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในพื้นที่ จึงได้จัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การบำบัดรักษายาเสพติด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการเชิงรุก โดยจัดตั้งศูนย์คัดกรองเพื่อคัดกรองและประเมินความรุนแรงของการติดยาเสพติด ภาวะความเสี่ยงทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงปัญหาด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับการติดยาเสพติด และวิเคราะห์จำแนกระดับความรุนแรง และวางแผนการดูแลบำบัดรักษาหรือการส่งต่อที่เหมาะสม รวดเร็วและปลอดภัย และจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม เพื่อให้การสงเคราะห์สนับสนุนให้ผู้ติดยาเสพติด หรือ ผู้ผ่านการบำบัดรักษาได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ ตลอดจน การติดตามดูแลช่วยเหลือจนสามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ ด้านที่ 2 คือ การป้องกันยาเสพติด ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชน ในการสร้างภูมิคุ้มกัน การเฝ้าระวัง การค้นหา การรักษา การให้โอกาส การดูแลและช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน    และด้านที่ 3 งบประมาณเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ดังนั้น ปัญหายาเสพติดจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562) มาตรา 50(1) และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 มาตรา 16(23)(30)ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้การป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ เพื่อหยุดหยั่งและลดระดับการขยายตัวของปัญหายาเสพติดในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 เพื่อเผยแพร่การป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเยาวชน/ประชาชน 2.2 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน/ประชาชนให้ตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาของชุมชนตนเอง 2.3 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชุมชนและเครือข่ายในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน 2.4 เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด 2.5 เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.6 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างเป้นรูปธรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่
10.2 ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาของชุมชนตนเอง 10.3 เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชุมชนและเครือข่ายในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน 10.4 ทำให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของพิษภัยและโทษยาเสพติด เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด 10.5 ทำให้หน่วยงานของรัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ภาคประชาชน/ภาคเอกชน ได้มีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 10.6 ประชาชนมีความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานและพนักงานจ้างของเทศบาลเมืองสะเดา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2565 09:41 น.