กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยการคัดแยกขยะและการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 11 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 พฤศจิกายน 2565 - 30 พฤศจิกายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 94,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟารีหัณห์ สาดอาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 พ.ย. 2565 30 พ.ย. 2565 94,500.00
รวมงบประมาณ 94,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 810 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยการคัดแยกขยะและการบริหารจัดการขยะเปียกในครัวเรือน ในการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยนำร่องประชาชนชุมชน          บาโงตาแย จำนวน ๘๐ ครัวเรือน ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ นั้น
การขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (T-VER) อันเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดเป้าหมายการดำเนินการจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนในครัวเรือนให้ครบถ้วน ร้อยละ ๑๐๐ และในการดำเนินการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยมีกระบวนการดำเนินงานให้มีการทบทวนผู้ประเมินภายนอก Validation and verification Body : WB เพื่อทำการตรวจสอบเอกสารในภาพรวม โดยผู้ประเมินภายนอกจะลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบข้อมูลการจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนดังกล่าว และจะมีการสุ่มตรวจครัวเรือนที่จัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนและอาจมีการสัมภาษณ์ครัวเรือนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการถังขยะเปียก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโกตาบารู จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยการคัดแยกขยะและการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนขึ้นให้ครบถ้วน ร้อยละ ๑๐๐ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.๑ เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ๑.๒ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน กลุ่มอาสาสมัครและผู้นำชุมชนในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง ๑.3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ ๑.๔ เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

๗.1 เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน     ๗.2 ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง     ๗.3 ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง     ๗.4  ประชาชนที่ดำเนินการสามารถใช้พื้นที่ที่จัดทำถังขยะเปียกปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้     ๗.5 ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง  ผู้นำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)  อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง     ๗.6 เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกของหมู่บ้าน/ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.1 เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน   ๗.2 ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง   ๗.3 ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง   ๗.4 ประชาชนที่ดำเนินการสามารถใช้พื้นที่ที่จัดทำถังขยะเปียกปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้   ๗.5 ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง   ๗.6 เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกของหมู่บ้าน/ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2565 11:00 น.