กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุน ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลต้นไทร
วันที่อนุมัติ 11 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 49,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษดา วงศ์ภูวรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานการร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกันพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ  คณะกรรมการควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุน มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีวิสัยทัศน์ มีทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงานของกองทุน เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาคเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ มีการตรวจสอบและให้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการอยู่แล้ว คณะกรรมการทุกคนจึงควรมีเจตคติความเข้าใจที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือทำให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ มีคุณภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลต้นไทร ควรมีการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการประชุมสัมมนา และการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ๑. การสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมในการทำงาน การสร้างจิตสำนึก ๒. การทำงานเป็นทีม และการสร้างผู้นำ ๓. การสร้างเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มอายุ
๔. การป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ๕. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ๖. ระบบการบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาล ยึดระบบคุณธรรม ๗. อบรมการบันทึกโปรแกรมข้อมูลกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ๘. การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ๙. การเขียนโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ บริหารกองทุน ฯ หลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลต้นไทร จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อจัดหาวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในงานของกองทุน ฯ จ่ายเบี้ยเลี้ยงในการประชุม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลกาดำเนินโครงการของกองทุนฯอย่างต่อเนื่อง - เพื่อให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน - เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลต้นไทรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

19.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลกาดำเนินโครงการของกองทุนฯอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
  • เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลต้นไทรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2565 09:42 น.