กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่และสารเสพติดของผู้ถูกคุมความประพฤติ
รหัสโครงการ 66 – L7452 – 2 – 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 21,595.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนูรซูวัน ราษฎร์สดี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และอำนวยการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ นักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) กรมคุมประพฤติ มีหน้าที่ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นคนดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดคดีอาญาอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดมีเป็นจำนวนมาก สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา คดีที่เข้าสู่ภารกิจงานคุมประพฤติจำนวน 1300 คดี และผู้ถูกคุมความประพฤติที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองยะลา จำนวน 500 ราย ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 70 เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และสารชนิดเริ่มต้นให้ติดยาเสพติดคือมาจากลอง สูบบุหรี่ ประกอบกับการขับเคลื่อนเป็นจังหวัดปลอดบุหรี่ ตั้งเป้าลดจำนวนผู้สูบบุหรี่เหลือต่ำกว่า 50,000 คน ภายใน 5 ปี จากผลการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 พบว่า จังหวัดยะลา พบการบริโภคยาสูบจัดอยู่ในอันดับที่ 32 ของประเทศ หรือคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 18.4 โดยตั้งแต่ พ.ศ.2534 – 2564 ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ ลดลง จาก 12.2 ล้านคน เป็น 9.9 ล้านคน จากรายงานสรุปการคัดกรองและบำบัดบุหรี่ของประชากร ในปี พ.ศ. 2565 อำเภอเมืองยะลา พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ อัตราส่วนร้อยละ 28.98ส่วนในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ อัตราส่วนร้อยละ 1.22(รายงานสรุปการคัดกรองและบำบัดบุหรี่ของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 3 ปีย้อนหลัง สสจ.ยะลา,2565) เพื่อขับเคลื่อนงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการขับเคลื่อนเป็น “จังหวัดปลอดบุหรี่” โดยใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงานตาม5 มาตรการ ประกอบด้วย 1. การขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานควบคุมยาสูบ 2. การบังคับใช้กฎหมาย และสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ 3. การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ 4. การบำบัดรักษา / การช่วยเลิกสูบ 5. การสร้างมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่ การสร้างความเข้มแข็งของการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ และการป้องกันและคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จากการได้รับควันบุหรี่มือ 2 ซึ่งทั้งหมดนี้ทางสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลาได้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนและมีความประสงค์ดำเนินการตามการขับเคลื่อนเป็น “จังหวัดปลอดบุหรี่” โดยใช้กลยุทธ์การบังคับใช้กฎหมาย และสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ การป้องกันนักสูบหน้าใหม่การบำบัดรักษา/การช่วยเลิกสูบการสร้างมาตรการชุมชนปลอดบุหรี่และเป็นหน่วยงานราชการที่มีความมุ่งมั่นในการการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานควบคุมยาสูบอย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงให้ได้จากการสำรวจคดีที่เข้าสู่ภารกิจงานคุมประพฤติส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 70 เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และสารชนิดเริ่มต้นให้ติดยาเสพติดคือมาจากลองสูบบุหรี่ จากนโยบายการขับเคลื่อนเป็นจังหวัดปลอดบุหรี่ ทางสำนักงานฯมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเลิกบุหรี่ของผู้ ถูกคุมความประพฤติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของจังหวัดยะลา จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ถูกคุมความประพฤติ ยังเป็นการป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่และติดสารเสพหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ถูกคุมความประพฤติ
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ถูกคุมความประพฤติร้อยละ 10
10.00
2 2. เพื่อให้ผู้ถูกคุมความประพฤติมีความรู้และเข้าใจการป้องกันบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจโทษของพิษภัยบุหรี่สารเสพติด ร้อยละ 80
80.00
3 3. เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ของผู้ถูกคุมความประพฤติ โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ
  1. อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ10
10.00
4 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,595.00 0 0.00
9 ม.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อชี้แจงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน 0 250.00 -
17 ม.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายผู้ถูกคุมความประพฤติ จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 10 คน รวมเป็น 60 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 16,445.00 -
29 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 จัดเสวนาการเลิกบุหรี่และการประกวดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่และการติดตามการเลิกสูบบุหรี่หลังจากอบรม 2 เดือน จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน รวมเป็น 60 คน ใช้ระยะเวลาครึ่งวัน 0 4,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ถูกคุมความประพฤติมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยสารเสพติด บุหรี่
  2. สามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้มาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่และสารเสพติด
  3. มีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากสารเสพติด
  4. ผู้ถูกคุมความประพฤติที่สูบบุหรี่มีจำนวนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2565 14:32 น.