กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อตามหลัก 3อ 2 ส. โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคน กลุ่มคน เครือข่าย (เช่น มีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

 

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง และเฝ้าระวังพฤติกรรม 3 อ 2 ส.และพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับตรวจคัดกรอง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง และเฝ้าระวังพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.และพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็ง จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 97.71 คัดกรองโรคเบาหวานได้ร้อยละ 93.20 คัดกรองแอลกอฮอล์ได้ ร้อยละ 90.59 คัดกรองบุหรี่ได้ร้อยละ 90.11นไปได้รับการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง และเฝ้าระวังพฤติกรรม 3 อ 2 ส.และพฤติกรรมเสี่ยงโรคมะเร็งไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งตัวไปรับการรักษาต่อ รพ.จำนวน 10 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งตัวไปรับการรักษาต่อ รพ.จำนวน 5 คน กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 64 คน

กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ไปอยู้ในกลุ่มปกติ

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดนโยบาย เกิดข้อตกลงชุมชน เกิดมาตรการทางสังคม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

 

การให้สุขศึกษาลดโรคความดันโลหิตสูงและลดโรคเบาหวานโดยการ เลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณที่พอเหมาะ พยายามงดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือเค็ม รับประทานผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร ควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา ออกกำลังกายเป็นประจำในแบบแอโรบิควันละ30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่ารับประทานยาใด ๆ เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยากลุ่มที่เป็นเสตียรอยด์ ยาฮอร์โมน หมั่นศึกษาหาความรู้ในการดูแลตนเอง ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย
โดยมีการติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน (Home BP)และควบคุมการรับประทานอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม ร่วมกับการออกกำลังกาย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจะมีการให้สุขศึกษาและให้ต้นแบบคนที่สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ มาช่วยสอนและแนะนำการปฏิบัติตัว หลังจากนั้นนัดมาเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำ
กรณีน้ำตาลในเลือดมากกว่าเท่ากับ 126 mg% ส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันการเป็นโรคเบาหวานและรับการรักษาอย่างทันท่วงที

การวัดความดันที่บ้าน (Home BP ) 7 วันในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 64 คน กลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการตรวจยืนยันโรคเบาหวานโดยการส่งต่อไปรักษาต่อเนื่องโรงพยาบาลจำนวน 5 คน

มาตรการในการติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง คือ การย่องครัวร่วมกับ อสม.ในเขตรับผิดชอบ จัดตั้งเป็นกลุ่มแกนนำ การมีบุคคลต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคได้เป็นแกนนำสุขภาพในปีถัดๆไป

 

 

 

 

การเปลี่ยนกลไก และกระบวนการในชุมชนที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดกลุ่ม ชมรม เครือข่าย เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ