กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 2566
รหัสโครงการ 66-L2535-01-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา ตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 51,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิอาซีซะห์ เจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยป่วย พิการ และเสียชีวิต ในปี 2557 พบว่าคนไทยที่เสียชีวิตร้อยละ 71 มีสาเหตุจากโรคเอ็นซีดีสำคัญ ได้แก่ 1) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 2) โรคเบาหวาน 3) โรคมะเร็ง 4) โรคทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเอ็นซีดีจะมีกลุ่มอาการทางเมตาบอลิคเกิดขึ้น คือ ไขมันสูงความดันโลหิตสูงน้ำตาลในเลือดสูง และน้ำหนักเกิน/อ้วน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ เช่น การบริโภคบุหรี่หรือยาสูบ การดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การส่งเสริมมาตรการ 3 อ 2 ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เลิกบุหรี่หรือยาสูบ เลิกสุรา) ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรค NCDs รวมถึงประชาชนวัยทำงาน จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs โดยเฉพาะเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งนี้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่อายุน้อย
จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวานจำนวน 382 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.74 และจากกลุ่มเสี่ยงกลายมาเป็นกลุ่มป่วยจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.30 และพบผู้ที่มีภาวะสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงจำนวน 261 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.31 และจากกลุ่มเสี่ยงกลายมาเป็นกลุ่มป่วยจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.91 เหล่านี้ล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น และนอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังมีสิ่งเร้าที่จะทำให้จุดมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเกิดการไขว้เขวระหว่างทางและไม่ประสบผลสำเร็จ เหล่านี้มีวิธีการแก้ไขคือ ต้องมีการติดตามเป็นระยะๆและต่อเนื่อง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา จึงจัดทำโครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 2566 ขึ้น เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 51,400.00 3 51,400.00
1 ธ.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 43,400.00 43,400.00
1 ธ.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล 7 ครั้ง 0 7,000.00 7,000.00
1 ธ.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เกิดความตระหนักและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
  2. สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2565 00:00 น.