กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 2561-L3317-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 15 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านจันนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2560 31 มี.ค. 2561 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (9,225.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 755 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มเมตาโบลิกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีสามเหตุจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นการออกกำลังกายการบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน และบริโภค ผัก ผลไม้ไม่พียงพอ ความเครียดเรื้อรัง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น โดยประชาชนที่เสี่ยงหรือป่วย ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัย และการักษาที่เหมาะสม ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลัน หรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคไตวาย ตาบอด โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ การเกิดโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องจึงมีแนวทางการดำเนินงานโดยเน้นวิธีการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการให้บริการดูแลรักษาในสถานบริการทุกระดับให้มีมาตรฐาน ดังนั้นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยลดภัยโรคเรื้อรังในการโรคเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิตการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีเป้าหมายสำคัญคือค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และรับการรักษาได้เร็วและถูกต้อง สร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายในระยะยาว โดยใช้กระบวนการทำงานเชิงรุก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕61 ขึ้น จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95ต่ำกว่าในระดับประเทศ อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปีจากสถิติตั้งแต่2558 – 2560ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้4.615,5158,5,483 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหัวถนน ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกันจาก ปี 2558 – 2560 ผู้ป่วยเบาหวาน 5,866,6,331,7102 ต่อแสนประชากร ความดันโลหิตสูง 14,238,15194,15,989 ต่อแสนประชากรตามลำดับ การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ข้อที่ 2. ลดอัตราผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ไม่ให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่

1.ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 2. ลดอัตราผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจรายชื่อกลุ่มเป้าหมายแยกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำทะเบียน
  2. จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อวัสดุการแพทย์
  3. ชี้แจงประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว / อสม. ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย
  4. ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้
  5. รวบรวมข้อมูลลงบันทึกผลการปฏิบัติงานในโปรแกรม JHCIS 6.รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน 7.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์
  2. ลดอัตราผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2560 10:42 น.