กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลคูหาใต้ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8402-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 166,278.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสรวิชญ์ จิตจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ (Public Police) ที่มุ่งหวังในการตอบสนองความต้องการในด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ขับเคลื่อนโดยท้องถิ่นและชุมชน ร่วมกันค้นหาปัญหาด้านสุขภาพคิดค้นการสร้างเสริมสุขภาพ ตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ได้กำหนดลักษณะกิจกรรมที่จะของบประมาณสนับสนุนจากกองทุน ได้เป็น ๕ ประเภท ได้แก่ กิจกรรมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่,กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่,กิจกรรมด้านการสาธารณสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ,กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่และกิจกรรมการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนขึ้นเพื่อนำงบประมาณที่ได้รับมาบริหารจัดการกองทุน จัดเตรียมวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในการดำเนินงานของกองทุนฯ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

คณะกรรมการมีการพิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

100.00
2 เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน

คณะกรรมการมีการพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงานกองทุนฯ

100.00
3 เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

คณะกรรมการมีการควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

100.00
4 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

คณะกรรมการมีการกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนฯอนุมัติ

100.00
5 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

คณะกรรมการกองทุนฯ มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายหรือเงินคงเหลือของกองทุนฯ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2565 15:40 น.