กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาตาล่วง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1491-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลนาตาล่วง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 99,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุทิพจารุ์ เผือกชาย นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการรักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.584,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 99,000.00
รวมงบประมาณ 99,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)
1.00
2 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
1.00
3 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของ  ประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545    มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและ    ความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อยกร่างหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งเทศบาลตำบล นาตาล่วงได้เข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551 และ ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาตาล่วงมาแล้วเป็นเวลา ๑๒ ปี กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาตาล่วง จึงได้จัดทำ“โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาตาล่วง ประจำปี 25๖6”ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนากองทุนให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นให้สามารถดำเนินงานและขับเคลื่อนการบริหารจัดการให้สอดคล้องตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2561 ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

กองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถบริหารจัดการและขับเคลื่อนงานได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

2 เพื่อให้กองทุนมีอุปกรณ์พร้อมใช้สำหรับการปฏิบัติงาน

กองทุนหลักประกันสุขภาพมีอุปกรณ์พร้อมใช้สำหรับการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนเทศบาลตำบลนาตาล่วง

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาตาล่วงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

4 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

1.00 4.00
5 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

1.00
6 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 122 99,000.00 3 17,150.00
1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 1 19 10,000.00 6,290.00
18 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 จัดซื้อวัสดุคอมพิวเตอร์และวัสดุสำนักงาน 0 5,000.00 -
18 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 0 18,000.00 -
18 พ.ย. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงนกองทุน และจัดทำแผนสุขภาพชุมชน 0 20,000.00 -
19 ธ.ค. 65 ประชุมอนุกรรมการกองทุน ครั้งที่ 1 13 5,000.00 3,960.00
26 ธ.ค. 65 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1 10 3,000.00 -
13 มี.ค. 66 ประชุมอนุกรรมการกองทุน ครั้งที่ 2 13 5,000.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 มิ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 3 19 10,000.00 -
10 เม.ย. 66 ประชุมอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 2 10 3,000.00 -
23 พ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 2 19 10,000.00 6,900.00
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 4 19 10,000.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน 1) ประชุมเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กำหนดแผนการดำเนินงาน 2) ประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ พิจารณาโครงการ 3) ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ 4) ประชุมคณะทำงาน 5) ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูและระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงาน 1) จัดทำหนังสือเชิญประชุม/ระเบียบวาระการประชุม 2) ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ 3) จัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์/ครุภัณฑ์สำนักงานและอื่นๆ ในการดำเนินงาน 4) ขออนุมัติจัดซื้อ/เบิกจ่าย/ยืมเงินและค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ - ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วยคณะกรรมการต่างๆ ผู้รับผิดชอบกองทุนฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง - ค่าตอบแทนในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - ค่ารับรองและพิธีการ 5) จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม ขั้นที่ 3 ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด 1) จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี 2) จัดประชุมอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี 3) จัดประชุมอนุคณะกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นให้สามารถดำเนินงานและขับเคลื่อนการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
2.แผนงาน หรือโครงการที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
3.กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาตาล่วงผ่านเกณฑ์การประเมินกองทุนฯ จาก สปสช.เขต 12 สงขลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2565 21:33 น.