กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการป้องกันวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรยุทธ์ บินสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค(Tuberculosis : TB) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และมีการดื้อยาเพิ่มขึ้น ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ ๙๐ แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไปจำนวนผู้ป่วยวัณโรค เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้จึงได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และวิธี DOTS ในระดับชุมชน ต่อไป วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรคสูงเป็นอันดับที่ 18 จาก 22 ประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดวัณโรคสูงของโลก ในขณะที่ผลการดำเนินงานความสำเร็จในการรักษาค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยขาดความรู้และบางส่วนในชุมชนยังไม่ได้รับการวินิจฉัย  การรักษาล่าช้า มารับบริการที่โรงพยาบาลเมื่อมีอาการมากแล้ว และเสียชีวิตในที่สุด  บางรายได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ขาดการรักษา อาจทำให้เกิดการดื้อยาและมีแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน ปัญหาที่พบในผู้ป่วยวัณโรคคือ ผู้ป่วยเมื่อได้รับการรักษาวัณโรคแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองหายแล้วหยุดการกินยา เมื่อผู้ป่วยหยุดยาก็จะทำให้เกิดการดื้อยา และแพร่เชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่น การดำเนินงานวัณโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่พบเกิดจากกลุ่มเสี่ยงในที่แตกต่างกัน ซึ่งปี 256๓ พบผู้ป่วยจำนวน ๑ ราย ปี 256๔ จำนวน ๓ ราย และปี 2565 จำนวน ๓ ราย และเสียชีวิต ๑ ราย งานด้านสาธารณสุขนั้นยังคงให้ความสำคัญกับการป้องกันและควบคุมโรคเพื่อการดูแลผู้ป่วยได้ในระยะเริ่มแรกได้ทันท่วงที ซึ่งโรควัณโรคที่มีเชื้ออยู่ในตัวบุคคลและหากร่างกายอ่อนแอหรือได้รับเชื้อเพิ่มมากขึ้นก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรควัณโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้การคัดกรองและการดูแลกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค เป็นตัวชี้วัดกระทรวง
การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง จึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็ว และได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษา และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค จึงได้จัดทำโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง โดยการให้ความรู้ ค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วยแบบสอบถาม เก็บเสมหะตรวจหาเชื้อวัณโรคและเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้  จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อการควบคุมและป้องกันโรควัณโรค และเพื่อให้เข้าถึงการบริการตัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่มีคุณภาพ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการคัดกรอง มี 7 กลุ่ม ดังนี้ 1.ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค 2.ผู้สูงอายุ 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดัน/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง) 4.ผู้ติดเชื้อ HIV / AIDs 5.แรงงานต่างด้าว 6.ผู้ต้องขัง 7.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรคไห้ได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น และป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของโรคในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง
  1. เพื่อคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 70
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค
  1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค ร้อยละ 60
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องและสำรวจกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ
    2.เขียนโครงการเสนอเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ - สำรวจกลุ่มเป้าหมาย - รณรงค์และประชาสัมพันธ์ - คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงในพื้นที่ ตามแผนการคัดกรอง - อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการเข้าข่าย - ส่งต่อกลุ่มที่มีอาการเข้าไปยังโรงพยาบาลท่าแพเพื่อเอกซ์เรย์ปอด 4.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรอง
    1. กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของโรควัณโรค
    2. กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยได้รับการส่งต่อเพื่อเอกซ์เรย์ปอดทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2565 10:50 น.