กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8422-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 71,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ คือการส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์มารดามีการเจริญเติบโต แข็งแรง ยั่งยืนในทุกด้าน เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะต้องได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ในปัจจุบันพื้นที่ตำบลจวบ ยังมีประชาชนที่อคติและยังไม่มีความเข้าใจในผลดี ของการฝากครรภ์ การคลอดในสถานพยาบาล บางส่วนยังนิยมคลอดบุตรกับผดุงครรภ์โบราณ (หมอตำแย) ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงเกิดกรณีบุตรเสียชีวิตในขณะทำคลอด การส่งเสริมความรู้เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ลุกเกิดรอดแม่ปลอดภัย จากการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในปี 2565 พบว่า การดูแลด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ยังให้บริการได้ไม่ครอบคลุม หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ช้า ฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และมีการคลอดเองที่บ้าน ทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การฝากครรภ์ การคลอดในสถานพยาบาล ตลอดจนการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ โดยงานสาธารณสุข สำนักปลัด ได้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก จึงได้ขออนุมัติแผนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลจวบเพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ข้อที่ 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์และคลอดในสถานพยาบาล ข้อที่ 3.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ข้อที่ 4. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารก

ข้อที่ 1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
ข้อที่ 2. อัตราการตายมารดาต่อการเกิดมีชีพแสนคน
ข้อที่ 3. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพครบตามเกณฑ์
ข้อที่ 4. ร้อยละทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 6เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 71,120.00 2 71,120.00
15 - 16 ก.พ. 66 อบรมให้ความรู้ แก่หญิงตั้งครรภ์ รุ่นที่ 1 จำนวน 100 คน2วัน 0 35,920.00 35,920.00
11 - 12 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้ แก่หญิงตั้งครรภ์ รุ่นที่ 2 จำนวน 100 คน2วัน 0 35,200.00 35,200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในสถานพยาบาล
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด
  3. อัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2565 09:45 น.