กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง


“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566 ”

ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสุรีย์ เสาร์พูล

ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ L2484-01-05 เลขที่ข้อตกลง 05/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 22 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ L2484-01-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 22 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 26,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 130 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล
จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2561 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรควิถีชีวิต สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยการตรวจร่างกาย พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวนมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 3.3 ความชุกของ 40 ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้รับการรักษาปี 2565 มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโคกงู จำนวน 1,441 คน ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวนทั้งหมด 1,387 คน คิดเป็นร้อยละ 96.25 พบประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ10.82 สงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 6.24 เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวน 844 คน คิดเป็นร้อยละ 61.34 สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 2.35 เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและป้องกันโรคในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสร้างสุขภาพนำซ่อมเพื่อแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการคัดกรอง สุขภาพ เฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยใช้เครื่องมือ “ ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี “ จากการรายงานการสำรวจสุขภาพของทั้งกลุ่มเสี่ยงละกลุ่มป่วยด้วย 3อ 2ส ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ และการลดการสูบบุหรี่ สิ่งมึนเมา อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตประชากรในพื้นที่ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
  3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
  3. กลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ ประชุมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการปิงปอง 7 สี หรือด้วยนวัตกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ2 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลตนเอง และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นต่อไปและเมื่อกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วมีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากผลการดำเนินโครงการ อบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการของปิงปอง 7 สี หรือด้วยนวัตกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคควงามดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในการดูแลตนเองและไๆด้ถ่ายทอดความรู้ต่อ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
ตัวชี้วัด : ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95
0.00 95.00

ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ผู้ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะเสี่ยงหรือป่วย ได้รับความรู้ทักษะและพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรค ร้อยละ 95
0.00 95.00

ผู้ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะเสี่ยงหรือป่วย ได้รับความรู้ทักษะและพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรค ร้อยละ 95

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น
ตัวชี้วัด : กลุ่มป่วยได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100
0.00 100.00

กลุ่มป่วยได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65 65
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (3) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2566 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ L2484-01-05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุรีย์ เสาร์พูล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด