กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลเรื้อรัง (NCDs)
รหัสโครงการ 66-L2479-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาดิ แวอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซูฮัยลา ยูโซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบในหลายด้าน ถือเป็นภัยเงียบระดับชาติและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กลุ่มโรคดังกล่าวนี้มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 63 และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ 80 ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึงร้อยละ 10 และสูงกว่าทุกประเทศในโลก การดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน ได้มีหลากหลายแนวคิดการดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิบัติงานตามองค์การอนามัยโลก แนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขตามคู่มือการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใช้หลัก 3อ. 2ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกาย และจากการคัดกรองการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือนด้วยวาจา พบว่า ในแต่ละครัวเรือนเน้นการปรุงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิตมีประชากรในพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 6,969 คน ป่วยเป็นโรคเรื้อรังทั้งหมด 771 คน คิดเป็นร้อยละ 11.06 แยกเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 487 คน คิดเป็นร้อยละ 6.98 โรคเบาหวาน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 0.51 เป็นทั้งโรคความดันและเบาหวานจำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 3.55 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพแก่ประชาชนและ การออกกำลังกาย
จากปัญหาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม รักษา หรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลเรื้อรัง (NCDs)” เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและการป้องกันปัญหาทางสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง
70.00
2 2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยลดหวาน มัน เค็ม ของประชาชน
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการบริโภคอาหารโดยลดหวาน มัน เค็ม
70.00
3 3. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในครอบครัวและชุมชน
  1. มีการออกกำลังกายในครอบครัวและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 16,950.00 1 16,950.00
16 มิ.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาหารเพื่อลดโรค และสาธิตวิธีการ ออกกำลังกายที่ถูกต้อง 70 16,950.00 16,950.00
16 ต.ค. 66 - 16 มิ.ย. 66 การตรวจคัดกรองประเมินสุขภาพ เบื้องต้น ได้แก่ วัดความดัน ชังน้ำหนักวัดรอบเอว คัดกรองสุขภาพจิต 70 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเรื้อรัง สาเหตุ อาการ การรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง และสามารถดูแลตนเองได้
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการบริโภคอาหารโดยลดหวาน มัน เค็ม
  3. มีการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงในครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ในครอบครัวและชุมชนของตัวเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2565 00:00 น.