กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการแม่รักลูก ผูกสัมพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดสุขภาพดีวิถีชุมชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาณ2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่รักลูก ผูกสัมพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดสุขภาพดีวิถีชุมชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาณ2566
รหัสโครงการ 66-L2476-01-018
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 21,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยาการียา เจะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
84.54
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
100.00
3 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
80.00
4 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
48.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัวการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาคชีวเคมีและสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัว อย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อมเพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดนอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว และที่สำคัญครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์ เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ ขณะเจ็บครรภ์คลอด และหลังคลอด การฝากครรภ์ การบริโภค การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และเร่งรัดการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะอัตราการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕คลอบคลุมร้อยละ๘๒.๓๔, ๗๖.๙๐, ๘๕.๕๖ ๘๕.๗๗และ ๘๔.๕๔ ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ๖๐) ปีงบประมาณ๒๕๖๕ การฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพร้อยละ ๘๐ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ การคลอดในสถานบริการคลอบคลุมร้อยละ ๑๐๐เป้าหมายร้อยละ ๙๕ภาวะซีดหน้าห้องคลอด ร้อยละ ๗ เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐ จากผลการดำเนินงานจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนั้นจึงจำเป็นต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้คู่สมรสรายใหม่ คู่สมรสที่ตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง

1.คู่สมรสรายใหม่ คู่สมรสที่ตั้งครรภ์และหลังคลอดมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

๒.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์  12  สัปดาห์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

0.00
3 ๓.เพื่อติดตามให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์และการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

๓. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

0.00
4 ๔. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้และสามีตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

๔.หญิงหลังคลอดและสามีมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์  และหลังคลอดร้อยละ ๘๐

0.00
5 ๕.เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน

๕.เด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,050.00 2 21,050.00
22 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 จัดอบรมคู่สมรสรายใหม่เรื่องการฝากครรภ์ 0 5,350.00 5,350.00
23 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้คู่สมรสที่ตั้งครรภ์ 0 15,700.00 15,700.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คู่สมรสรายใหม่ คู่สมรสที่ตั้งครรภ์ และหลังคลอดมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพหญิงหลังคลอดและเด็กแรกเกิดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์มาตรฐาน และเด็กแรกเกิดถึง6 เดือน กินนมแม่ครบ๖ เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2565 00:00 น.