กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L5163-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านแหลมหาด
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 62,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิสาร์ พงศ์มานุรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3016 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำท่วมขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แก่แพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชน และมีมากหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย ในการนี้อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเกาะใหญ่จึงได้ทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้เลือด ก่อนฤดูและในฤดูการระบาดเพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

0.50 1.00
2 2.เพื่อทำลายแหล่่งเพาะพันธุ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน วัด และโรงเรียน ที่เป็นแหล่งโรค

ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และภาชนะเสี่ยงในชุมชน วัด และ โรงเรียน

0.50 1.00
3 3.เพื่อประชาสัมพันธุ์สถานการณ์ดและให้ความรู้ประชาชน สร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่

ประชาชนมีความรู้และตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.50 1.00
4 4.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ประชาชนสามารถลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

0.50 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 62,400.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 66 1.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเกาะใหญ่ 0 0.00 -
1 - 31 ม.ค. 66 2.จัดทำสื่อประชาสัมพันธุ์การควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 0.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 3.สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย 0 38,400.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 4.ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการพ่นหมอกสารเคมีหมอกควัน หรือการพ่นฝอยละออง ก่อนการระบาดของโรค และช่วงการระบาด 0 24,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มวัย 2.มีการเฝ้าระวัง สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง 3.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันดรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก 4.การมีส่วนร่วมจากภาคีเครื่อข่ายในการป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2565 00:00 น.