กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 29,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกันตัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 7 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในปี 2566 ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 3 ก.พ. 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 6,185 ราย อัตราป่วย 9.35 ต่อแสนประชากร ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ช่วงอายุ 5-9 ปี ช่วงอายุ 0-4 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปีตามลำดับ โดยได้รับรายงาน การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ 19 เหตุการณ์ มีผู้ป่วยตั้งแต่ 3-348 ราย สถานการณ์ด้านระบาดวิทยาของจังหวัดตรังพบรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงสูงสุดจำนวน 973 ราย อัตราป่วย 152.08 ต่อแสนประชากร
พบในอำเภอกันตังสูงเป็นอันดับ 2 จำนวน 39 ราย อัตราป่วย 44.96 ต่อแสนประชากร (แผนปฏิบัติราชการพัฒนาสุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จังหวัดตรัง)
จากสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในปี 2566 พบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นกลุ่มวัยเรียน เทศบาลเมืองกันตังให้ความสำคัญกับประชาชนในมิติการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยและมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสถานประกอบกิจการจำหน่ายอาหารภายในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จึงมีความจำเป็นต้องจัดโครงการอย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้แกนนำ อย. น้อยมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร

แกนนำ อย. น้อยมีความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

แกนนำ อย. น้อย ได้ฝึกตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจำนวน 7 ครั้ง (ตรวจอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียน จำนวน 7 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี โรงเรียนกันตังพิทยากร โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว โรงเรียนประชาวิทยา โรงเรียนอนุบาลกันตังศึกษา และโรงเรียนวิเศษกาญจน์)

3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 42 29,000.00 3 13,661.00
7 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย 42 8,060.00 3,425.00
8 ก.ย. 66 กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร 0 14,000.00 6,036.00
11 - 15 ก.ย. 66 กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน 0 4,600.00 4,200.00
18 ก.ย. 66 กิจกรรมมอบประกาศนียบัตรให้แก่แกนนำ อย. น้อยและครูที่ปรึกษา 0 2,340.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.3 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อความรู้ ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมคัดเลือกตัวแทนแต่ละโรงเรียนเพื่อแต่งตั้งเป็นแกนนำ อย. น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน เทศบาลเมืองกันตัง (นักเรียนระดับชั้นประถมปลาย/มัธยมต้น/มัธยมปลาย จำนวนโรงเรียนละ 5 คน รวม 35 คน ครูที่ปรึกษาโรงเรียนละ 1 คน รวมเป็น 42 คน) 2.2 กิจกรรมสำรวจและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่จำหน่ายอาหารในโรงเรียนและบริเวณหน้าโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองกันตัง 2.3 กิจกรรมจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร วิธีการตรวจสารปนเปื้อน ให้แก่แกนนำ อย. น้อยฯ
    2.4 กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้ทราบ เช่นการให้ความรู้หน้าเสาธง การติดสื่อความรู้ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ การสร้างหรือใช้สื่อสำเร็จรูปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนได้ทราบผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ 2.5 กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน

- เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร - ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร - แจ้งผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารให้ผู้ประกอบการทราบ
2.6 กิจกรรมมอบประกาศนียบัตรให้แก่แกนนำ อย. น้อยและครูที่ปรึกษา 3. ขั้นประเมินผลการดำเนินการ 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองกันตัง
  2. นักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นส่วนส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2565 13:56 น.