กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกันตัง

ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-01-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 66-L6895-01-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 29,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในปี 2566 ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 3 ก.พ. 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 6,185 ราย อัตราป่วย 9.35 ต่อแสนประชากร ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ช่วงอายุ 5-9 ปี ช่วงอายุ 0-4 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปีตามลำดับ โดยได้รับรายงาน การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ 19 เหตุการณ์ มีผู้ป่วยตั้งแต่ 3-348 ราย สถานการณ์ด้านระบาดวิทยาของจังหวัดตรังพบรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงสูงสุดจำนวน 973 ราย อัตราป่วย 152.08 ต่อแสนประชากร
พบในอำเภอกันตังสูงเป็นอันดับ 2 จำนวน 39 ราย อัตราป่วย 44.96 ต่อแสนประชากร (แผนปฏิบัติราชการพัฒนาสุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จังหวัดตรัง)
จากสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในปี 2566 พบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นกลุ่มวัยเรียน เทศบาลเมืองกันตังให้ความสำคัญกับประชาชนในมิติการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยและมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสถานประกอบกิจการจำหน่ายอาหารภายในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จึงมีความจำเป็นต้องจัดโครงการอย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ให้แกนนำ อย. น้อยมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร
  2. เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย
  2. กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร
  3. กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน
  4. กิจกรรมมอบประกาศนียบัตรให้แก่แกนนำ อย. น้อยและครูที่ปรึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีแกนนำเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองกันตัง
  2. นักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นส่วนส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพดี

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย

วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนรับเอกสาร
  • พิธีเปิด
  • อย.น้อยคือใคร และบทบาทของ อย.น้อย
  • หลักสุขาภิบาลอาหารและความปลอดภัยในอาหาร
  • การสาธิตและฝึกปฎิบัติตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะ และผู้สัมผัสอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย จัดกิจกรรมในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง โดยมีนักเรียนแกนนำอย.น้อยและคณะครูเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน แบ่งเป็นนักเรียนแกนนำอย.น้อยจำนวน 25 คน และคณะครูจำนวน 5 คน โดยนักเรียนแกนนำอย.น้อยทุกคนมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 100 และได้แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกใช้ ชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหาร โดยมีวิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจให้กับแกนนำอย.น้อย ซึ่งแกนนำอย.น้อยสามารถปฏิบัติได้ตามคู่มือการใช้ชุดตรวจ กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย มีการประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมพบว่ามีนักเรียนที่มีความรู้อยู่ในเกณฑ์ดี (8-10 คะแนน) ร้อยละ 100

 

42 0

2. กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร

วันที่ 8 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้ทราบ เช่นการให้ความรู้หน้าเสาธง การติดสื่อความรู้ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ การสร้างหรือใช้สื่อสำเร็จรูปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนได้ทราบผ่านช่องทางสื่อออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้ทราบ เช่นการให้ความรู้หน้าเสาธง การติดสื่อความรู้ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ การสร้างหรือใช้สื่อสำเร็จรูปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนได้ทราบผ่านช่องทางสื่อออนไลน์

 

0 0

3. กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน

วันที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน
- เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร - ตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร - แจ้งผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารให้ผู้ประกอบการทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ อาหารและผู้สัมผัสที่จำหน่ายในโรงเรียน โดยได้เข้าตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ อาหาร และมือผู้สัมผัสอาหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกันตังจำนวน 2 โรงเรียนคือโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาสและโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี โดยมีรายละเอียดดังนี้ จากการเก็บตัวอย่างอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างอาหารที่ไม่พบสารปนเปื้อนจำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 พบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งได้แจ้งผลการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียให้กับโรงเรียนได้ทราบรวมทั้งเน้นย้ำการทำความสะอาดมือก่อนประกอบ ปรุงอาหาร และการทำความสะอาดภาชนะให้กับผู้ประกอบการทราบ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการอย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566 จัดทำขึ้นเพื่อให้แกนนำ อย. น้อย มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร โดยมีกิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย และกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมคัดเลือกตัวแทนแต่ละโรงเรียนเพื่อแต่งตั้งเป็นแกนนำ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน จำนวน 30 คน
1.2 กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย จัดกิจกรรมในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง โดยมีนักเรียนแกนนำอย.น้อยและคณะครูเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน แบ่งเป็นนักเรียนแกนนำอย.น้อยจำนวน 25 คน และคณะครูจำนวน 5 คน โดยนักเรียนแกนนำอย.น้อยทุกคนมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 100 และได้แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกใช้ ชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหาร โดยมีวิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจให้กับแกนนำอย.น้อย ซึ่งแกนนำอย.น้อยสามารถปฏิบัติได้ตามคู่มือการใช้ชุดตรวจ กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย มีการประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมพบว่ามีนักเรียนที่มีความรู้อยู่ในเกณฑ์ดี (8-10 คะแนน) ร้อยละ 100
1.3 กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร โรงเรียนจำนวน 3 แห่งที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสื่อเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารโดยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ฟอร์มบอร์ดสำหรับจัดบอร์ดนิทรรศการบริเวณโรงเรียน และสื่อแผ่นพับสำหรับตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 1.4 กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ อาหารและผู้สัมผัสที่จำหน่ายในโรงเรียน โดยได้เข้าตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ อาหาร และมือผู้สัมผัสอาหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกันตังจำนวน 2 โรงเรียนคือโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาสและโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
จากการเก็บตัวอย่างอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างอาหารที่ไม่พบสารปนเปื้อนจำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 พบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งได้แจ้งผลการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียให้กับโรงเรียนได้ทราบรวมทั้งเน้นย้ำการทำความสะอาดมือก่อนประกอบ ปรุงอาหาร และการทำความสะอาดภาชนะให้กับผู้ประกอบการทราบ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ให้แกนนำ อย. น้อยมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร
ตัวชี้วัด : แกนนำ อย. น้อยมีความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

2 เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
ตัวชี้วัด : แกนนำ อย. น้อย ได้ฝึกตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจำนวน 7 ครั้ง (ตรวจอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียน จำนวน 7 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี โรงเรียนกันตังพิทยากร โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว โรงเรียนประชาวิทยา โรงเรียนอนุบาลกันตังศึกษา และโรงเรียนวิเศษกาญจน์)

 

3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 42
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้แกนนำ อย. น้อยมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร (2) เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย (2) กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร (3) กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน (4) กิจกรรมมอบประกาศนียบัตรให้แก่แกนนำ อย. น้อยและครูที่ปรึกษา

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 66-L6895-01-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกันตัง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด