กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการอย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2566 จัดทำขึ้นเพื่อให้แกนนำ อย. น้อย มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร โดยมีกิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย และกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมคัดเลือกตัวแทนแต่ละโรงเรียนเพื่อแต่งตั้งเป็นแกนนำ อย.น้อยสร้างเสริมความปลอดภัยทางอาหารในโรงเรียน จำนวน 30 คน
1.2 กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย จัดกิจกรรมในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง โดยมีนักเรียนแกนนำอย.น้อยและคณะครูเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน แบ่งเป็นนักเรียนแกนนำอย.น้อยจำนวน 25 คน และคณะครูจำนวน 5 คน โดยนักเรียนแกนนำอย.น้อยทุกคนมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 100 และได้แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกใช้ ชุดตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหาร โดยมีวิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจให้กับแกนนำอย.น้อย ซึ่งแกนนำอย.น้อยสามารถปฏิบัติได้ตามคู่มือการใช้ชุดตรวจ กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย มีการประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมพบว่ามีนักเรียนที่มีความรู้อยู่ในเกณฑ์ดี (8-10 คะแนน) ร้อยละ 100
1.3 กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร โรงเรียนจำนวน 3 แห่งที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสื่อเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารโดยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ฟอร์มบอร์ดสำหรับจัดบอร์ดนิทรรศการบริเวณโรงเรียน และสื่อแผ่นพับสำหรับตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 1.4 กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ อาหารและผู้สัมผัสที่จำหน่ายในโรงเรียน โดยได้เข้าตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ อาหาร และมือผู้สัมผัสอาหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกันตังจำนวน 2 โรงเรียนคือโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาสและโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
จากการเก็บตัวอย่างอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างอาหารที่ไม่พบสารปนเปื้อนจำนวน 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 พบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งได้แจ้งผลการตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียให้กับโรงเรียนได้ทราบรวมทั้งเน้นย้ำการทำความสะอาดมือก่อนประกอบ ปรุงอาหาร และการทำความสะอาดภาชนะให้กับผู้ประกอบการทราบ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ให้แกนนำ อย. น้อยมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร
ตัวชี้วัด : แกนนำ อย. น้อยมีความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

2 เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
ตัวชี้วัด : แกนนำ อย. น้อย ได้ฝึกตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจำนวน 7 ครั้ง (ตรวจอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียน จำนวน 7 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี โรงเรียนกันตังพิทยากร โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว โรงเรียนประชาวิทยา โรงเรียนอนุบาลกันตังศึกษา และโรงเรียนวิเศษกาญจน์)

 

3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 42
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้แกนนำ อย. น้อยมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร (2) เฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารด้วยการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน เจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางอาหาร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมจัดอบรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและการฝึกตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารให้แก่แกนนำ อย. น้อย (2) กิจกรรมสร้างสื่อความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร (3) กิจกรรมตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารที่จำหน่ายในโรงเรียนและหน้าโรงเรียน (4) กิจกรรมมอบประกาศนียบัตรให้แก่แกนนำ อย. น้อยและครูที่ปรึกษา

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh