กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังใจ ใส่ใจดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 5,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. ฉันทนา ทิ้งเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช จากคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ระหว่างปี 2558 -2564 มีผู้ป่วยโรคทางจิตเวชเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จาก 1.3 ล้านคน เป็น 2.3 ล้านคน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจาก 30,247 คน ในปี 2562 เป็น 33,891 คน ในปี 2564 ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มเดียวกับสถานการณ์โลก โดยส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด - 19 สภาพปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการปรับตัวของประชาชน และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้พิการทางจิต ซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ แม้ในกระบวนการบำบัดรักษาผู้พิการทางจิตในโรงพยาบาล มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยา และการบำบัดด้านจิตสังคม แต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้พิการทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่อง และได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไป ภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรค ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป ซึ่งอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุจาก ตัวผู้ป่วยเอง เช่น การขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อม ยังขาดความรู้ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ที่เจ็บป่วยหรือพิการทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนและ มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น บุคคลในชุมชน รู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วยหรือคาดหวังกับผู้ป่วยมากเกินความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วยหรือพิการทางจิต สภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้พิการทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และผู้พิการทางจิตยิ่งขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้พิการทางจิตเหล่านี้กลายเป็นผู้พิการทางจิตที่เป็นภาระหรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลกันตัง ประจำปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยจิตเวชในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 60 ราย ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้พิการทางจิตให้ทุเลาจากการเจ็บป่วย จึงได้จัดทำ โครงการรวมพลังใจ ใส่ใจดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยจิตเวช ป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย ส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถดำเนินชีวิตในชุมชนได้ตามศักยภาพ และเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมได้มากที่สุด อีกทั้งยังทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยได้รับความรู้และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างถูกต้อง

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณตามสภาพผู้ป่วย

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยจิตเวชได้รับการเยี่ยมบ้านพร้อมดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณตามสภาพผู้ป่วย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 5,975.00 2 5,925.00
31 ม.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 5,775.00 5,925.00
5 ก.พ. 67 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน 30 200.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยประสานข้อมูลจากโรงพยาบาลกันตัง และแกนนำสุขภาพชุมชน 1.2 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรองและเสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น โรงพยาบาลกันตัง ทีมเครือข่ายสุขภาพอำเภอกันตัง เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และแบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้ป่วยจิตเวช และการใช้ยาในผู้ป่วยจิตเวช โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง พร้อมประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2.2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช พร้อมทีมจิตเวชโรงพยาบาลกันตังและแกนนำสุขภาพในชุมชน
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
  2. ผู้ดูแลผู้ป่วยมีองค์ความรู้และมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2565 15:33 น.