กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันอาการไหล่ติดด้วยไม้พลองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L5284-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นพ.สุพล เจริญวิกกัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
อาการปวดไหล่ (frozen shoulder ) ไหล่ติด ยกแขนไม่สุด เป็นปันหาที่พบเจอเยอะในปัจจุบัน และกลุ่มที่เจอได้เยอะคือกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ของผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง มีจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น นำมาซึ่งการสูญเสียค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางและเสียเวลาของคนไข้ที่มากขึ้น และหนึ่งในปันหาที่นักกายภาพบำบัดมักจะพบคือ ปันหาการปวดไหล่ หรือข้อไหล่อักเสบ ติดขัด ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนานกว่ากลุ่มคนไข้ปกติ
อาการปวดไหล่หรือไหล่ติดคนไข้จะมีอาการปวด หรือยกแขนไม่สุด เนื่องจากมีสาเหตุจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบข้อไหล่อักเสบ หรือ ฉีกขาด การไหลเวียนเลือดไม่ดี การขยับแขนน้อยลง หรือโรคบางชนิด อาการปวดไหล่ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ระยะแรกคือระยะเจ็บปวด คนไข้มักจะมีอาการปวดมาก และอาจปวดได้แม้ไม้ทำกิจกรรมที่ขยับแขนหรือข้อไหล่ใดใดเลยระยะที่ 2 คือระยะติดแข็ง ในระยะนี้คนไข้มักจะอาการปวดลดลง แต่อาการติดแข็งของข้อไหล่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การรักษาในช่วงระยะนี้จะต้องใช้เวลาที่นานมากขึ้นเนื่องจากต้องลดปวดและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ร่วมด้วย และระยะที่ 3 คือระยะที่อาการปวดค่อยๆลดลงและอาการติดแข็งค่อยๆลดลง แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจมีอาการติดแข็งที่ยาวนานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบนักกายภาพบำบัดเมื่อมีอาการปวดและข้อไหล่ติดแข็งไปแล้วหรือในบางรายไม่สามารถขยับแขนได้ นั่นคือระยะที่ 2 นั่นเอง ซึ่งทำให้ระยะเวลาในการรักษาต้องใช้เวลาและเครื่องมือที่เพิ่มมากขึ้น
แผนกกายภาพบำบัดได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะลด หรือป้องกันการเกิดอาการปวดข้อไหล่หรือข้อไหล่ติดให้ลดลง ด้วยการสอนออกกำลังกายด้วยไม้พลองในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง สืบเนื่องจากปีงบประมาณ 2564 ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในแผนกกายภาพบำบัดนั้น มีอาการข้อไหล่ติดแข็งคิดเป็นร้อยละ 6.5 ( 31 คน )และเป็นในกลุ่มโรคเรื้อรังถึง 75 % ทางแผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนจึงอยากเผยแพร่ความรู้ในการป้องกันอาการปวดไหล่และไหล่ติดในคนไข้กลุ่มนี้ จึงจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยสอนวิธีการออกกำลังกายโดยใช้ไม้พลองที่เพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดไหล่ และข้อไหล่ติด ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังดีขึ้น และลดภาระค่าใช้จ่ายและค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้น หากคนไข้กลุ่มโรคเรื้อรังมีอาการปวดข้อไหล่หรือข้อไหล่ติดแข็งนั่นเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดไหล่และไหล่ติด ข้อที่ 2เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถออกกำลังกายด้วยไม้พลองเพื่อลดอาการปวดและป้องกันอาการไหล่ติดได้ ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายด้วยไม้พลองไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อที่ 4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายด้วยไม้พลองแก่ผู้อื่นได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับอาการปวดไหล่และไหล่ติด 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงสามารถออกกำลังกายด้วยไม้พลองเพื่อลดอาการปวดและป้องกันอาการไหล่ติดได้ 3.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายด้วยไม้พลองไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายด้วยไม้พลองแก่ผู้อื่น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,500.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โครงการป้องกันอาการไหล่ติดด้วยไม้พลองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0 8,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดไหล่และไหล่ติด 2.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังสามารถออกกำลังกายด้วยไม้พลองเพื่อลดอาการปวดและป้องกันอาการไหล่ติดได้ 3.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังสามารถนำความรู้และท่าทางการออกกำลังกายด้วยไม้พลองไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายด้วยไม้พลองแก่ผู้อื่นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 00:00 น.