กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนิบงบารู
วันที่อนุมัติ 30 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไวรียะ ยูนุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 189 ล้านคน และคาดว่าในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ไม่ดี และส่วนใหญ่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นน้อยลงเรื่อยๆ ด้วย วิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และความเครียดจากการทำงาน โรคความดันโลหิตสูงนอกจากจะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ “พันธุกรรม” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของพันธุกรรมนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้พันธุกรรมจะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้
แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้ มีผลการวิจัย หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อ การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรค และป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงได้ ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 80.23 ซึ่งถือว่ายังควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงให้ครอบคลุมกลุ่มป่วยทุกคน ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ถูกต้อง เหมาะสม และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

 

0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองไตมากกว่าร้อยละ 90

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,950.00 1 44,950.00
22 - 24 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้ 0 44,950.00 44,950.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลได้ดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
    1. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2565 11:04 น.