กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพแกนนำด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8302-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.นักจัดการสุขภาพเพื่อ สปสช.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 เมษายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหมัด อีอาซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ การดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การนวดไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่มีมาแต่โบราณ เกิดจากสัญชาตญาณเบื้องต้นของการอยู่รอด เมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วยตนเองหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงมักจะลูบไล้บีบนวดบริเวณดังกล่าว ทำให้อาการปวดเมื่อยลดลง เริ่มแรก ๆ ก็เป็นไปโดยมิได้ตั้งใจ ต่อมาเริ่มสังเกตเห็นผลของการบีบนวดในบางจุด หรือบางวิธีที่ได้ผลจึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์ และกลายเป็นความรู้ที่สืบทอดกันต่อ ๆ มาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความรู้ที่ได้จึงสะสมจากลักษณะง่าย ๆ ไปสู่ความสลับซับซ้อน จนสามารถสร้างเป็นทฤษฎีการนวด จึงกลายมาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีบทบาทบำบัดรักษาอาการและโรคบางอย่าง       จากข้อมูลการสำรวจประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง ค้าขาย และมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำให้ต้องรับประทานยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำในปริมาณที่มากและเกิดอาการสะสมสารเคมีในร่างกาย เพื่อต้องการบรรเทาอาการเจ็บปวด ซึ่งยาแก้ปวดทั้งหลายหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากอาจจะทำให้ตับและไตทำงานหนักขึ้นและเกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

      ดังนั้น กลุ่มอสม.นักจัดการวสุขภาพ เพื่อ สปสช.มะรือโบตก ได้เห็นถึงความสำคัญของการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ประจำปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80
40.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,150.00 1 12,150.00
1 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพโดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย (การออกกำลังกายด้วยท่ามณีเวช และการนวดแผนไทย) กลุ่มเป้าหมายคือ แกนนำ 12 ชุมชน สามารถฝึกอบรมและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้ 0 12,150.00 12,150.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและคณะทำงานฯ 3. จัดทำแผนงานโครงการ 4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
  4.1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพโดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย (การออกกำลังกายด้วยท่ามณีเวช และการนวดแผนไทย) 5. สรุปผลการดำเนินงาน 6. นำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรม ได้นำความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้
  2. ประชาชนสามารถใช้ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพร การนวดแผนไทย และการออกกำลังกาย ให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ลดปริมาณการใช้ยารักษาโดยไม่จำเป็น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 16:02 น.