กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในครัวเรือน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8302-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.นักจัดการสุขภาพเพื่อ สปสช.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 เมษายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหมัด อีอาซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนสามารถใช้สมุนไพร ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)         ในประเทศไทยมีการใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยารักษาโรค เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมานานแล้ว แต่การปลูกพืชสมุนไพรเป็นการค้ายังมีน้อยและเป็นสิ่งท้าทายใหม่ที่ประเทศของเราเพิ่งเริ่มต้น เนื่องจากมีข้อจำกัดในกระบวนการผลิตค่อนข้างมาก เพื่อให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice : GMP) และเหมาะสมตามมาตรฐานของตลาดโลก ดังนั้นหากเราต้องการผลิตสมุนไพรให้ได้การรับรองมาตรฐานและปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อน การผลิตสมุนไพรแบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นระบบที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะรับประกันได้ว่าปราศจากสารเคมี ทั้งส่วนของสมุนไพรที่นำมาปลูกหรือที่เรียกว่ากิ่งพันธุ์ พื้นที่ในการผลิต และวิธีการเก็บรักษา       การปลูกพืชทั่วไปมักเน้นเรื่องความสวยงามหรือให้ผลผลิตขนาดใหญ่ ขณะที่การปลูกพืชสมุนไพรนั้น สิ่งที่ต้องการมากที่สุดก็คือปริมาณสารสำคัญที่มีสรรพคุณทางยา เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันหอมระเหย สารยับยั้งอาการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยที่ช่วยเพิ่มปริมาณสารสำคัญในพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แหล่งปลูก การจัดการแร่ธาตุ ตลอดจนการให้พืชได้รับความเครียดเพื่อกระตุ้นให้สร้างสารสำคัญ เช่น การบังคับน้ำ แสง อุณหภูมิ ตลอดจนการกระตุ้นด้วยจุลินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามการกระตุ้นดังกล่าวต้องคำนึงถึงความเสียหายที่กระทบกับปริมาณผลผลิตด้วยเช่นกัน การปลูกสมุนไพร และใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว ส่วนใหญ่นำมาบริโภคเป็นผัก ใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารหรือทำเครื่องแกงต่าง ๆ หากปลูกติดบ้านไว้ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยหลายชนิดถูกบรรจุเป็นสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการเบื้องต้น ที่พบบ่อย ๆ การปลูกสมุนไพรแล้วเก็บมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือนถือเป็นการพึ่งพาตัวเองในการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่ทุกคนทำได้ ซึ่งปัจจุบันสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง และวิธีการใช้ประโยชน์ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ       จากข้อมูลการสำรวจประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง ค้าขาย และมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำให้ต้องรับประทานยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำในปริมาณที่มากและเกิดอาการสะสมสารเคมีในร่างกาย เพื่อต้องการบรรเทาอาการเจ็บปวด ซึ่งยาแก้ปวดทั้งหลายหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากอาจจะทำให้ตับและไตทำงานหนักขึ้นและเกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างไรก็ตามการที่จะช่วยให้บรรเทาอาการปวดเมื่อยลดอาการปวดเมื่อยอักเสบและการเกร็งของกล้ามเนื้อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้เป็นอย่างดีนั้นต้องอาศัยสมุนไพรที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นการรักษาอาการเบื้องต้นได้ ดังนั้น กลุ่มอสม.นักจัดการสุขภาพเพื่อ สปสช. มะรือโบตก เห็นถึงความสำคัญของการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในครัวเรือน ปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะการใช้สมุนไพร ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

 

40.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,950.00 1 12,950.00
1 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรในครัวเรือน และวิธีการใช้สมุนไพร 0 12,950.00 12,950.00
1 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมครัวเรือนตัวอย่าง (สาธิตวิธีการปลูกสมุนไพร) 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและคณะทำงานฯ 3. จัดทำแผนงานโครงการ 4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
  4.1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การปลูกสมุนไพร และการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ   4.2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมครัวเรือนตัวอย่าง (สาธิตวิธีการปลูกสมุนไพร) 5. สรุปผลการดำเนินงาน 6. นำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรม ได้นำความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้
  2. ประชาชนสามารถใช้ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพร ให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ลดปริมาณการใช้ยารักษาโดยไม่จำเป็น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 11:23 น.