กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การดูแลสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็กแบบองค์รวม
รหัสโครงการ 66-L8302-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลอาซิ อับดุลรอมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       การพัฒนาสุขภาพและอนามัยของบุคคลเป็นองค์ประกอบและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพของคนทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา การพัฒนาทางด้านสาธารณสุขจึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2539) การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในกลุ่มแม่และเด็ก ถือเป็นเป้าหมายหนึ่งที่มีความสำคัญของการพัฒนาด้านสาธารณสุข หน่วยงานเกี่ยวข้องได้มีการดำเนินงานที่จะพัฒนาให้มีการส่งเสริมสนับสนุนแม่และเด็กให้มีสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์ โดยในการดำเนินงานนอกจากจะเน้นที่การให้บริการที่มีคุณภาพ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านอนามัยแม่และเด็ก การดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตกจึงได้จัดทำโครงการการดูแลสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็กแบบองค์รวม เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆของหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตลอดจนการดึงชุมชุนให้เข้ามามีส่วนรวมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด

จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตกปีงบประมาณ 2565 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน 142 คน ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์จำนวน 69 คนคิดเป็นร้อยละ 48.59 ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์จำนวน 112 คนคิดเป็นร้อยละ 78.87 อัตราการเกิดภาวะซีดจำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 7.04 อัตรามารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีจำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 6.33 และจำนวนหญิงหลังคลอดทั้งหมด 77 คน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน 71 คิดเป็นร้อยละ 92.21

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

35.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,300.00 3 36,300.00
1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเยาวชน -บทบาทสมมุติ -ถอดบทเรียน -ฟังบรรยายกับผู้รู้ทางศาสนา 0 19,200.00 19,200.00
1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหญิงตั้งครรภ์ 0 10,800.00 10,800.00
1 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหญิงหลังคลอด 0 6,300.00 6,300.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. ประชุมคณะทีมงาน 2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3. ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ 4. จัดทำแผนปฏิบัติงาน กำหนดวัน เวลา เพื่อดำเนินการ
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
5. จัดประชุมหาแนวทางการแก้ไขปัญหากับเครือข่ายร่วมดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน 6. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไว้ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากให้ครบ ลดภาวะเสี่ยง 7. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชน 8. จัดกิจกรรมจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหญิงตั้งครรภ์ 9. จัดกิจกรรมจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหญิงหลังคลอด 10. จัดกิจกรรมดูแลหลังคลอด เฝ้าระวังภาวะเสี่ยง 11. จัดกิจกรรมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขั้นที่ 3 สรุปผล
12. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเยาวชน
  2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
  3. หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 13:15 น.