กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่6 ตำบลช้างเผือก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2475-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วัดประสิทธิ์ประชาราม
วันที่อนุมัติ 21 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 14,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสหรัฐ สีดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.997,101.573place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้มากขึ้น จำเป็นต้องมีความรู้มาสร้างผลผลิตของกลุ่มผู้สูงอายุ ในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ บ้านไอร์บาล๊อ ตำบลช้างเผือก ให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การสร้างความรู้แก่ ผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนสมาชิกผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตของผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ใน ปัจจุบัน ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีขวัญและกำลังใจในการเรียนรู้และสามารถเป็น แกนนำในการเผยแพร่ ความรู้ให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชน เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในที่ต่างๆ และมีเป้าหมายที่ จะพัฒนาคุณภาพและสภาพจิตผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมนโยบายในการพัฒนาการของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ในการทำ กิจกรรมร่วมกัน พัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคง ทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทัน การเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคม โดย ๑) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำความรู้ และประสบการณ์ของ ผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมองของชาติทั้งภาครัฐและเอกซน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ใน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และประเทศ ๒) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถ พี่งตนเอง โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและ ความจำเป็นทางกายภาพให้เหมาะกับวัย และการพัฒนาระบบ การดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในด้าน การจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง พัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมให้เป็นต้นแบบของการดูแลผู้สูงอายุเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น กลุ่มผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนของผู้ประสบภาวะยากลำบกสูงกว่าวัยอื่นทั้งหมด ความยากจน เป็นปัจจัยแรกที่นำมาสู่ภาวะ ดังกล่าว ก่อให้เกิดภาวการณ์พึ่งพาที่สูงขึ้นและมีความต้องการการดูแลระยะยาวจากสังคมจึงมีความจำเป็นในการ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันจัดสถานที่เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริม การรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในรูปแบบชมรมผู้สูงอายุ การอบรมให้ความรู้ การเปลี่ยนแปลงและมีการเตรียมความพร้อม ให้ประชากร ทั้งในด้านการเงิน การส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต สภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย การใช้ชีวิตในวัยผู้สูงอายุและการถ่ายทอดภูมิปัญญา รวมทั้งเพื่อเป็น ศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อาสาสมัคร จิตอาสา เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมดำเนินการ รับรองการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงอายุอย่างมี คุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

 

3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม

 

4 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 14,600.00
18 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอาายุ เรื่อง การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและการปฎิบัติตนที่ถูกต้อง 0 0.00 14,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางกายและทางจิตใจ
  2. ผู้สูงอายุมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง หรือมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต 3.ผู้สูงอายุได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สังคม
  3. ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 13:36 น.