กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L8302-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลอาซิ อับดุลรอมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 334 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

      ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่สาเหตุการตายของประชาชนเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อเฉียบพลันมาเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอันทำให้บุคคลเคลื่อนไหวร่างกายลดลงและบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น โรคระบบไหลเวียนเลือดเป็น กลุ่มโรคหนึ่งที่ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยในปัจจุบัน       ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม   จากการดำเนินงานปีงบประมาณ 2565 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก มีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทั้งหมดจำนวน 423 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.33 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวน 576 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.33 พบมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.08 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นจำนวน 179 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.39 พบมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 163 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.61 และมีผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นจำนวน 576 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.33 พบมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 163 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.61 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.47 เป็นผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.84 และเป็นผู้ป่วยติดสังคมที่รับยานอกเขตสถานบริการ จำนวน 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.73  ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตกจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน ร่วมถึงสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุขได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

40.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,400.00 2 33,400.00
1 ม.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 จัดอบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 33,400.00 33,400.00
1 ม.ค. 66 - 30 ส.ค. 66 จัดกิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง 0 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการขออนุมัติ 2. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 3. ประสานพื้นที่ เครือข่ายสร้างสุขภาพในหมู่บ้าน 4. จัดอบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5. จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ทางตา/ตรวจเท้า/ตรวจสุขภาพช่องปาก ตามเกณฑ์มาตรฐาน 6. ติดตามการรับยาทีคลินิกโรคเรื้อรัง 7. เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ไม่ได้มารับบริการที่คลินิก และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้ 8. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น 2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 13:56 น.