กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลด้วยใจ ห่วงใยสุขภาพโรคเรื้อรัง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8302-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาริสา อับดุลเลาะห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
45.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล(ระบุที่มาของการทำโครงการ)     กลุ่มโรคเรื้อรังถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพของไทย ที่มีการรับมือกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่คร่าชีวิตประชาชนกว่า 1,000 คนต่อวันหรือ 4 แสนคนต่อปี ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ตั้งแต่อายุ 30-70 ปี) ทั้งนี้ โรคเรื้อรังนั้นสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโลกาภิวัตน์ และลัทธิบริโภคนิยม เช่น การตลาดของอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ การไม่มีกิจกรรมทางกาย มลพิษทางอากาศ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งไทยเป็นประเทศมีความเสี่ยงของโรคเรื้อรังมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในแถบนี้ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงสุด (คิดเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก) นอกจากนี้ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคโซเดียม และน้ำตาลของประชากรไทยสูงเป็น 2 เท่า และ 4 เท่าของปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคต่อวัน นอกจากนั้น การสูบบุหรี่ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและเจ็บป่วยอันดับต้น ๆ ของคนไทยด้วย รวมถึงเยาวชนไทย 9 ใน 10 คนยังมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (อย่างน้อย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์) และคนไทยร้อยละ 42 มีภาวะน้ำหนักเกินซึ่งสูงเป็นลำดับ 2 ของประเทศในเอเชีย
        ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการ  คัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ การละเลิกการสูบบุหรี่ ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่     สถานการณ์โรคเรื้อรังจากกลุ่มโรคเมตาบอลิกเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญสำหรับโรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล จากผลการคัดกรองในกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป (เฉพาะเขต เทศบาลตำบลมะรือโบตก ส่วน รพ.สต.บ้านสะโล) ทั้งหมด 770 คน คัดกรองได้ 705 คน ร้อยละ 91.55  ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวาน ๒3 คน มีภาวะเสี่ยงเบาหวาน 125 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 143 คน มีภาวะเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง 60 คน ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๖1 คน จากข้อมูลแสดงถึงแนวโน้มความรุนแรงที่เป็นอันตรายเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้ดำเนินการคัดกรองภาวะสุขภาพประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในปี ๒๕๖5 พบว่า ประชากรมีระดับความเสี่ยงสูงที่จะเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่นกัน การขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคและผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนหนึ่งขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องและขาดยาไป ทำให้ไม่อยู่ในระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยมากแล้วไม่สะดวกในการเดินทาง ไม่มีใครนำพาไปรับยา ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ รพ.สต.บ้านสะโล มีความพยามที่จะนำกลุ่มเหล่านี้ให้อยู่ในระบบการดูแลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการ ดูแลด้วยใจ ห่วงใยสุขภาพโรคเรื้อรัง ปี 2566 นี้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

45.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,650.00 4 40,650.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรครื้อรัง 0 9,500.00 9,500.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตามแบบ 3อ. 2ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 0 8,000.00 8,000.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง 0 22,400.00 22,400.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 ป้ายโครงการ 0 750.00 750.00

วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) ขั้นที่ ๑ ตอนก่อนการดำเนินการ ๑. ประชุมกลุ่มเพื่อทำแผนงานและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน ๓. จัดทำแผนการจัดโครงการในกลุ่มที่เป็นเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการจัดโครงการ ๕. ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านภาคีเครือข่าย
๖. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการจัดโครงการให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินงานตามโครงการ ๑. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน
๒. ทำแผนการจัดโครงการในกลุ่มที่เป็นเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมโครงการ เช่น เทศบาล ผู้นำท้องถิ่น อสม. และภาคีเครือข่าย
4. เตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการจัดโครงการ ให้เพียงพอในการดำเนินงาน 5. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ 6. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรครื้อรัง   - กิจกรรมสาธิตอาหารเพื่อสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยง ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตามแบบ 3อ. 2ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 8. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑. ประเมินผล สรุปการดำเนินงานการจัดโครงการ ๒. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเรื้อรังได้ ๒. ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม ๓. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง
๔. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองและสภาพร่างกายให้แข็งแรง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ 5. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าสู่ระบบการดูแลที่ถูกต้องและไม่มีการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 14:49 น.