กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ“หนูน้อยฟันดี ด้วยสองมือแม่”
รหัสโครงการ 66-L2995-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 6,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันพบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแบบแผนการดำเนินชีวิต ส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขาดการจัดการความเครียด การไม่รู้จักดูแลรักษาอวัยวะในร่างกายที่ถูกต้อง และจากการค้นหาคัดกรองเบื้องต้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเด็กปฐมวัย จากการสำรวจชุมชนพบว่ากลุ่มเด็กปฐมวัยในพื้นที่ มีปัญหาเรื่องฟัน ซึ่งเป็นอวัยวะในช่องปาก ซึ่งหากไม่รักษาให้ดี จะสร้างปัญหาด้านสุขภาพต่างๆมากมาย เช่น ปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก เป็นต้น เนื่องจากอาการฟันผุจึงทำให้เด็กเหล่าไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ประกอบผู้ปกครองไม่ค่อยเอาใจใส่ ในการดูแลรักษาฟันตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ จนถึงเด็กเริ่มจะมีฟันน้ำนมขึ้น ถ้าหากผู้ปกครองมีความรู้ เอาใจใส่ในการดูแลรักษา จะทำให้เด็กมาใช้ฟันในการบดอาหาร สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เต็มที่ จะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง คุณภาพชีวิตของเด็กดีขึ้นต่อไป     จากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน พบว่าเด็กปฐมวัยที่เริ่มมีฟันน้ำนม 95% จะมีภาวะของฟันผุ และ 89% ของเด็กปฐมวัยในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านกลาง เด็กจะมีภาวะของฟันผุ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้น อันอาจจะช่วยลดจำนวนเด็กปฐมวัยที่ภาวะของฟันผุได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราเด็กปฐมวัยที่มีภาวะฟันผุ โดยเฉพาะฟันน้ำนม 2.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลรักษาฟันในเด็กปฐมวัย 3.เพื่อให้อสม.สามารถเป็นครูพี่เลี้ยงของผู้ปกครองในการดูแลรักษาฟันของเด็กปฐมวัยในเขตรับผิดชอบของตนเอง

ร้อยละผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลรักษาฟันในเด็กปฐมวัย

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 65 6,225.00 2 6,225.00
2 ม.ค. 66 ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 25 625.00 625.00
16 ม.ค. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาฟันในเด็กปฐมวัย 40 5,600.00 5,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราเด็กปฐมวัยมีภาวะของฟันน้ำนมผุลดลง
  2. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยสามารถดูแลรักษาฟันได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 3.อสม.มีความสารถในการเป็นพี่เลี้ยงผู้ปกครองในการดูแลฟันเด็กปฐมวัยในเขตรับผิดชอบของตนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2565 10:39 น.