กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันเกิดจากพาหนะนำโรค หมู่ที่ 1
รหัสโครงการ 66-L1531-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 มกราคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กุมภาพันธ์ 2566
งบประมาณ 9,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเด็น พงษ์มาก
พี่เลี้ยงโครงการ (.........................................)
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.74,99.511place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 9,950.00
รวมงบประมาณ 9,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีการระบาดในพื้นที่ตำบลนาวงเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนในตำบลจำนวนมาก โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลนาวง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ดำเนินการป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหา แต่ก็สามารถจัดการควบคุมให้จนไม่มีการแพร่ระบาดเลย ซึ่งมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่งก็คือพื้นที่ตำบลนาวง ไม่มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย และขยะเปียก ทำให้ชาวบ้านต้องจัดการกันเองในครัวเรือน เช่น การทิ้งในหลุมขยะ การทิ้งกองในบริเวณบ้าน หรือการนำบางส่วนไปเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการจัดการในลักษณะอย่างนั้นทำให้มีการเพาะเชื้อของพาหนะนำโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดด้วย กิจกรรมการส่งเสริมให้ครัวเรือนมีความรู้เรื่องจัดการขยะเปียก โดยการทำหลุมขยะเปียก จึงเป็นวิธีการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์พาหนะ ทั้งยุง และแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคติดต่ออื่นได้
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการป้องกันและควบคุม เช่น การตรวจลูกน้ำยุงลาย การรณรงค์ให้มีการควบคุม แต่ไม่เพียงพอที่จะควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ในหมู่บ้าน จำนวน 50 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) ได้มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคและการจัดการขยะที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

ครัวเรือนจำนวน 50 ครัวเรือน ได้มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคและการจัดการขยะที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66
1 จัดทำถังขยะเปียก(26 ธ.ค. 2565-15 ม.ค. 2566) 6,400.00    
2 อบรมให้ความรู้(16 ม.ค. 2566-27 ม.ค. 2566) 3,550.00    
รวม 9,950.00
1 จัดทำถังขยะเปียก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 6,400.00 0 0.00
26 ธ.ค. 65 - 15 ม.ค. 66 จัดทำถังขยะเปียก 50 5,200.00 -
16 - 31 ม.ค. 66 ติดตามการใช้หลุมขยะเปียก 50 1,200.00 -
2 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 3,550.00 0 0.00
16 - 27 ม.ค. 66 อบรมให้ความรู้ 50 3,550.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชน ในหมู่ที่ 1 จำนวน 50 คน ที่ผ่านการอบรม มีความรู้เรื่องการป้องกันโรค และการจัดการขยะที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2565 10:05 น.