กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L2997-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านน้ำบ่อ
วันที่อนุมัติ 4 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 พฤศจิกายน 2560 - 23 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิศัลย์มาตสม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอาซีซะ กาเรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817,101.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมเกิดการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามีบทบาทในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเอง ทั้งยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง

ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชน เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งแผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนเป้นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อให้การจัดการสุขภาพชุมชนที่ต้องส่งเสริมให้ประชาชนแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา ซึ่งหัวใจของความสำเร็จ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ด้วยเหตุนี้ ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการนี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนสุขภาพของท้องถิ่นตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลในการดูแลสุขภาพ จึงขอเสนอโครงการนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาครัฐและประชาชน

 

2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

 

3 เพื่อรับทราบปัญหา ความต้องการของประชาชนในการกำหนดแนวทางการจัดทำแผนสุขภาพของตำบล

 

4 เพื่อส่งเสริมการทำงานที่มีการบูรณาการกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,000.00 0 0.00
13 พ.ย. 60 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ ครั้งที่ 1 0 63,000.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อร่วมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการและร่วมกันวางแผนงานกิจกรรมโครงการ และอนุมัติโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  3. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ มีกิจกรรม 3.1 ลงประชาคมพื้นที่ในตำบลบ้านน้ำบ่อเพื่อรับทราบปัญหา ค้นหาข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและครอบคลุมทุกด้าน 3.2 นำปัญหาของชุมชน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการประชาคมนำมาวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนตามสถานการณ์จริงมาร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และมีข้อสรุป 3.3 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา 3.4 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา 3.5 เขียนแผนงาน/โครงการ 3.6 นำเสนอแผนงาน/โครงการให้กองทุนพิจารณาเพื่อดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนสุขภาพของตนเองในตำบล
  2. แผนพัฒนาสุขภาพของตำบลมีความหลากหลายและเข้าถึงปัญหาของประชาชนมากขึ้น
  3. มีการกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม
  4. กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนมีการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2560 08:50 น.