กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีไม่มีขาย มาได้ที่ทอนคลอง
รหัสโครงการ 66 – L5168 -2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.9 และ คณะกรรมการหมู่บ้าน ม.9
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 ธันวาคม 2565 - 7 มกราคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 9 มกราคม 2566
งบประมาณ 16,567.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณ บุญรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ธ.ค. 2565 21 ธ.ค. 2565 16,567.00
รวมงบประมาณ 16,567.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้คนต้องอยู่บ้าน งดการพบปะซึ่งกันและกัน ทำให้กิจกรรมบางอย่างขาดหายไป เช่น การออกกำลังกายนอกบ้าน ทำให้มีการออกกำลังกายน้อยลง ลดลง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หัวใจ และภาวะไขมันในเลือด ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย และเกิดสุขภาวะที่ดี โดยการออกกำลังกายเป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การออกกำลังกายแต่ละชนิดจะมีรูปแบบ กระบวนการ และหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป ราชบัณฑิตยสถาน (2525) ได้ให้คำนิยามการออกกำลังกายไว้ว่า หมายถึง การใช้กำลังและแรงในการบริหารร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง โดยมีจุดหมายเพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญสารอาหารซึ่งส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ลดความดันและไขมัน ส่งเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยให้มีบุคลิกภาพที่ดีชะลอการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายนั้นต้องมีการเลือกชนิด ประเภท และแนวทางการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเองในแต่ละช่วงวัย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มตัวแทนครัวเรือน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 53 ครัวเรือน ณ วันที่ 25, 30 พฤศจิกายน และ 1 ธันวาคม 2565 พบว่ามีผู้ที่ออกกำลังกาย จำนวน 28 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 52.83 และไม่ออกกำลังกายจำนวน 25 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 47.17 ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงมาก สอดคล้องกับดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่มีภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน และอ้วนมาก จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 64.15 นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 21 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 65.63 โรคเบาหวาน จำนวน 5 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 15.63 และ โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 2 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 6.25
จากการประชุมประชาคมหมู่บ้านในวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ซึ่งประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและสมาชิก ตัวแทนประชาชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลโคกม่วง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการออกกำลังกาย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการขาดแกนนำและอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการจัดสรรเวลาที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ขาดการออกกำลังกายที่ต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้นักศึกษากลุ่ม 01/7 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับสมาชิกในชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและสมาชิก ตัวแทนประชาชนตลอดจนหน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลตำบลโคกม่วง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลโคกม่วง ได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยใช้ชื่อว่า “สุขภาพดีไม่มีขาย มาได้ที่ทอนคลอง” ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมประเมินสุขภาพร่างกาย ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย สาธิตการยืดเหยียดร่างกายโดยใช้ผ้าขาวม้า เป็นการนำโครงการเดิมที่ทางชุมชนเคยจัดทำมาก่อนนำมากระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมาใช้ นอกจากนี้ยังเป็นการต่อยอดโครงการโดยมีการให้ความรู้และจัดทำสื่อวิดีโอ เพื่อเป็นสื่อผ่านช่องทางเสียงตามสายของหมู่บ้าน และสามารถดาวน์โหลดไปใช้ที่บ้านได้สำหรับประชาชนที่ไม่สะดวกออกจากบ้าน ซึ่งการออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ทุกเพศทุกวัย วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อให้สมาชิกภายในชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา สามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองได้ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีกิจกรรมออกกำลังกายให้กับประชาชนในชุมชนเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบภาวะสุขภาพของตนเอง

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจและรับทราบผลการประเมินภาวะสุขภาพของตนเอง

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกการออกกำลังกายที่เหมาะกับตนเองได้ภายหลังได้รับความรู้

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยผ้าขาวม้า

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสาธิตย้อนกลับท่าทางการออกกำลังแบบยืดเหยียดด้วยผ้าขาวม้าได้ถูกต้อง

4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้และนำสื่อการออกกำลังกายที่สร้างขึ้นไปใช้อย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมและสื่อการออกกำลังกายอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด

5 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเวลาและสร้างแกนนำในการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละ 100 ได้ข้อตกลงหรือแนวปฏิบัติในการออกกำลังกายในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง
  • ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเห็นความสำคัญและมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 10:25 น.