กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ครูไทยวัยเกษียณ
รหัสโครงการ 66-L8416-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมข้าราชการครูบำนาญป่าพะยอม
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสำราญ ทองมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.86,99.947place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ประชากรของประเทศไทย พบประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดว่า ในอีกไม่กี่ปี ประเทศไทยจะเป็น "สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์" และเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ภายในปี พ.ศ. 2578 กล่าวคือ ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด (นายอนันต์ อนันตกูล ,มปป) สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างประชากรพบการลดลงของประชากรวัยเจริญพันธ์ุ และในเวลาเดียวกันคนไทยก็มีอายุยืนยาวขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาคือ อัตราส่วนพึ่งพิงในวัยสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น ปัญหาทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สภาพจิตและอารมณ์ที่อยู่อาศัย ตลอดจนปัญหาในการปรับตัว ดังนั้นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุคือปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้เกษียณอายุได้เช่นเดียวกัน การที่ผู้เกษียณอายุจะสามารถกับสภาวะวิกฤติดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมวางแผนชีวิตที่จะก้าวเข้าสู่วัยเกษียณหรือวัยสูงอายุ (เพ็ญประภา เบญจวรรณ 2558)เป็นการวางแผนชีวิตก่อนที่จะก้าวสู่วัยสูงอายุ ผู้ที่มีการเตรียมตัวที่ดีจะสามารถใช้ชีวิตภายหลังเกษียณอายุได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการทบทวนงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องพบว่า การเตรียมความพร้อมการเกษียณควรจัดรูปแบบบริการวิชาการ 6 ด้าน ได้แก่ 1. การเตรียมตัวด้านจิตใจ 2. การเตรียมตัวด้านร่างกาย 3. การเตรียมตัวด้านทรัพย์ืสินเงินทอง 4. การเตรียมตัวด้านกิจกรรมการใช้เวลาว่าง 5. การเตรียมตัวด้านสัมพันธภาพในครอบครัว 6. การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพครูไทยวัยเกษียณ เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูไทยวัยเกษียณให้ความรู้เท่าทันสุขภาพ และเหมาะจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และแนะนำบุคคลรอบข้างได้

ร้อยละ 80 รู้เท่าทันสุขภาพ และสามรถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และแนะนำบุคคลรอบข้างได้

2 2.เพื่อสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกระดับ ในการดำเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยเกษียณ

ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยเกษียณ

3 3.เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับครูบำนาญ ก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางร่างกาย จิตใจ สังคม

ร้อยละ 80 มีความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางร่างกาย จิตใจ สังคม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกชมรมข้าราชการครูบำนาญป่าพะยอม มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ 2.มีการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับวัยเกษียณ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 3.มีต้นแบบที่ดี (Best Practice) ในการจัดการสุขภาพของประชากรวัยเกษียณ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู้สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 13:34 น.