กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงด้วยกายอุปกรณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 66-L8020-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 59,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกนกวรรณ คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 59,050.00
รวมงบประมาณ 59,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ปัจจุบันในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรมีผู้พิการทั้งหมดจำนวน 126 คน เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมากที่สุดจำนวน 66 คน ซึ่งผู้พิการส่วนใหญ่เกิดจากการเ็นผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงซึ่งมรแนวโน้มที่จะเ็นผู้พิการต่อไป การดูแลฟื้นฟูสุขภาพทางร่างกายมีหลายวิธี การใช้กายอุปกรณ์เป็นวิธีหนึ่ง แต่พบปัญหาในการใช้อุปกรณ์ช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ คืออุปกรณ์ที่ส่วนใหญ่อยู่โรงพยาบาล ซึ่งยากต่อการเข้าถึงของคนพิการ เพราะมีข้อจำกัดต่อการเคลื่อนไหว เป็นอุปสรรคในการเดินทางเข้ารับบริการ และอุปกรณ์ส่วนใหญ่มีราคาแพง จึงไม่สามารถซื้อมาไว้ที่ศูนย์บริการคนพิการ หรือที่บ้านคนพิการได้ ถึงแม้ว่านโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทสไทย จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอุปกรณ์ของคนพิการก็ตาม แต่การเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆของคนพิการก็ยังเป็นปัญหา ได้รับไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุม จากการสำรวจ พบว่าคนพิการได้ใช้อุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมหรือเครื่องช่วยคนพิการ ร้อยละ 28.6 แม้การสนับสนุน การดูแลประชาชนจากภาครัฐอย่างเต็มศักยภาพตามข้อจำกัดทรัพยากร แต่ก็ไม่เพียงพอ พลังของท้องถิ่นชุมชน สามารถช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ พลังท้องถิ่นที่สำคัญ คือ ทุนทางสังคม ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาของครอบครัวและชุมชนก็สามารถช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้ นั่นคือ อุปกรณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพและช่วยเหลือคนพิการ ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น มีราคาแพง พบได้ในชุมชน ซึ่งสามารถช่วยเหลือคนพิการในชุมชนได้ โดยช่างมีฝีมือในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชุมชน มาร่วมสร้างอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับคนพิการ ภายใต้การควบคุมความถูกต้องจากผู้มีความรู้หรือบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้   ดังนั้น ศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลกำแพงเพชร เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงด้วยกายอุปกรณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน มุ่งเน้นผู้พิการ และครอบครัวคนพิการ อสม เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลคนพิการ โดยเฉพาะการจัดทำอุปกรณ์จากภูมิปัญญาของชมชนเองภายใต้ความถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

อุปกรณ์ในการฟื้นฟูที่เกิดจากภูมิัญญาท้องถิ่น

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 59,050.00 0 0.00
20 ม.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 จัดอบรม เรื่องการผลิตอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 40 59,050.00 -

วิธีดำเนินการ 1. ขั้นเตรียมการ   1.1 จัดทำและเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ   1.2 ประชุมชี้แจงจัดเตรียมการดำเนินงานร่วมกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง   1.3 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (ราวเดินกะลา บันไดเข้ามุม รอกบริหารไหล่ วงล้อบริหารไหล่ ไม้ไต่ราว สเก็ตบอร์ด สปิงบริหารมือ ถุงทราย ลูกแก้วบริหารเท้า) 2. ขั้นดำเนินงาน   2.1 จัดอบรมให้กับคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ อสม.และประชาชนในพื้นที่ เรื่องการผลิตอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น (ราวเดินกะลา บันไดเข้ามุม รอกบริหารไหล่ วงล้อบริหารไหล่ ไม้ไต่ราว สเก็ตบอร์ด สปิงบริหารมือ ถุงทราย ลูกแก้วบริหารเท้า)   2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการจัดทำกายอุปกรณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น   2.3 จัดอบรมให้กับคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ อสม. และประชาชนในพื้นที่ ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น   2.4 ขยายผลการสู่หมู่บ้านโดยใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยภูมิัญญาท้องถิ่น 3. ขั้นการประเมินผล   3.1 มีกายอุกรณ์เป็นต้นแบบ   3.2 มีการนำกายอุปกรณ์ที่ผลิตได้ถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจ 4. ขั้นสรุป
  4.1 รายงานสรุผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คนพิการมีอุปกรณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 14:28 น.