กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3312-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,648.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในช่วง 5 ปี
53.17

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติพบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยปีละ 5,500 ราย ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.81 ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-60 ปีวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง และหากทำทุก 5 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามได้ถึง 92 %ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่ายสะดวกราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจภายใน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพปัญหาในการมาตรวจความอายความรู้สึกเจ็บไม่สบายความวิตกกังวลถึงผลการตรวจและความรุนแรงของโรค

ในปี 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย มีการออกมาตรการเร่งรัดในโครงการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย โดยการจัดมาตรการเชิงรุก การเชิญชวนให้มารับการตรวจคัดกรอง และสำรวจความครอบคลุม แต่ผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี สะสม 5 ปี (ปี พ.ศ. 2561-2565) ทำได้เพียงร้อยละ 53.17และผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ได้ครอบคลุมตามเป้าหมาย เพื่อลดอุบัติการณ์ และความรุนแรงของโรค โดยทำการศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 - 60 ปี

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,648.00 2 8,648.00
1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 การเก็บรวบรวมข้อมูล 0 4,888.00 4,888.00
1 - 31 พ.ค. 66 การบันทึกข้อมูลจากแบบสอบถาม 0 3,760.00 3,760.00
1 - 31 ส.ค. 66 การวิเคราะห์ การแปรผลข้อมูล การสรุปผล และการเผยแพร่ผลการศึกษา 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายในหน่วยงาน การดำเนินงานพัฒนามาตรการเชิงรุก ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ครอบคลุมบรรลุตามเป้าหมาย
  2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเหมาะสมต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 14:58 น.