กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายทีม SRRT ระดับตำบล ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8416-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลป่าพะยอม
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรียา หิรัญโยดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.86,99.947place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสำคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขตและจังหวัด โดยทีม SRRT เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วประจำหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกัน ควบคุมโรคซึ่งในด้านสมรรถนะบุคลากรเคยมีคำกล่าวว่า "เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนต้องใช้ระบาดวิทยาในการปฏิบัติงาน" แต่ในด้าสมรรถนะขององค์กร อาจกล่าวได้ว่า "หน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคและภัยทุกหน่วยงาน ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว" เนื่องจากปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการแพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่นๆทุกพื้นที่จึงจำเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่า่งรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหากพื้นที่ใดที่มีทีม SRRT ไม่เข้มแข็งจะมีจุดอ่อนของการป้องกันโรคและอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้โรคทวีความรุนแรงขึ้นได้ ในปี 2554 ศูนย์ระบาดวิทยาได้ให้ความสำคัญในการทำงานด้านระบาดวิทยาและ SRRT มีการสนับสนุนและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการประเมินผลการทำงาน ปัจจุบันพบว่ามีโรคอุบัติใหม่/ซ้ำ อีก ทั้งยังมีโรคประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบทำให้เกิดภัยคุกคามสุขภาพประชาชน สังคม เศรษฐกิจโดยรวม และอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นจากปัญหาการพบโรคที่รุนแรงและซับซ้อนตลอดจนจนมีแนวโน้มที่บางปัญหารจะมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า โรคอหิวาตกโรค โรคเลปโตสไปโรซิส โรคสครับไทฟัส และโรคอุบัติใหม่อื่นๆ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งระบบเฝ้าระวัง การซักซ้อมแผน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้รับผิดชอบ เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเฝ้าระวัง ระบบข่าวกรอง การสอบสวนโรค ให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดอัตรากาป่วย อัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อต่างๆมีทีมงานเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆในลักษณะภาคีที่ชัดเจนมากขึ้น ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลป่าพะยอม ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพทีม SRRT ที่จะทำให้ทีมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการอบรมในครั้งนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาเครือข่ายทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT ตำบลป่าพะยอม

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2.หลังการอบรมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน

2 2.เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์มากขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถสื่อสารให้ทีมรับทราบภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อมีการระบาดของโรคเกิดขึ้นในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT สามารถสอบสวนโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT สามารถควบคุมป้องกันโรคได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที 3.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT มีความเข้มแข็งในการควบคุมโรคแบบยั่งยืนและต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 15:09 น.