โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 (ประเภทที่ 5)
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 (ประเภทที่ 5) |
รหัสโครงการ | 66-L7884-5-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 ธันวาคม 2565 - 31 พฤษภาคม 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 92,522.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางชนดา อภิรักษากุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เนื่องจากจังหวัดปัตตานีได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เป็นต้นมาส่งผลให้ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง
ทั้งนี้เทศบาลเมืองปัตตานีได้รับผลกระทบจากอิทธิพลฯดังกล่าวเกิดภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือน พื้นที่คลอบคลุมทั้ง 3 ตำบลได้แก่ ตำบลจะบังติกอ ตำบลอาเนาะรูและตำบลสะบารัง มีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวน 3,592 ครัวเรือนจากจำนวน 16,055 ครัวเรือน ทำให้ประชาชน ได้รับความเดือดร้อน ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคทางเดินอาหารจากการดื่มน้ำ/รับประทานอาหารที่ปนเปื้อน โรคผิวหนัง เช่น น้ำกัดเท้า การระบาดของโรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตาแดง ไข้เลือดออก อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย ปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียทรัพย์สินเป็นต้น
พื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานีเป็นพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว จึงสามารถให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วม ตลอดจนถึงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้ว จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่/ท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ข้อ7(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีปีงบประมาณ2566 ขึ้นเพื่อบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยได้รับการดูแล/แก้ปัญหาสุขภาพตามความจำเป็น 2. เพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดขึ้นหลังอุทกภัย
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ลดความเจ็บป่วยเกิดโรคหลังภัยพิบัติอุกภัย
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 15:47 น.