กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวรือเสาะสุขภาพดี ห่างไกลควันบุหรี่มือสอง ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2511-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลรือเสาะ
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 24,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซากีนา ดอเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ควันบุหรี่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพั้งต่อตัวผู้สูบและคนไม่สูบ(แต่ได้รับสูดดมควัน) หรือที่เรียกกันว่า “ควันบุหรี่มือสอง” คือ ควันจากปลายมวนบุหรี่ที่จุดไฟ และควันที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไปและหายใจออกมา ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด และมีถึง 70 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ควันบุหรี่มีผลต่อผู้สูบและผู้ไม่สูบได้รับควันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และที่สำคัญที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ควันบุหรี่มีผลต่อเด็ก โดยพบว่า เด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีขนาดของร่างกายที่เล็กกว่า มีอัตราการหายใจมากกว่า และมีระบบการหายใจร่วมกับระบบภูมือต้านทานที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งควันบุหรี่มือสองสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็กหลายอย่าง เช่น การตายอย่างเฉียบพลันในวัยทารก ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจหลายอย่าง ทำให้อาการหอบหืดแย่ลง ทำให้เกิดโรคของหูชั้นกลาง และทำให้การเจริญเติบโตของปอดช้าลง นอกจากนี้เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินมากขึ้น และต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น และมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น และที่สำคัญเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีคนสูบบุหรี่ก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มสูบบุหรี่ในอนาคตมากกว่า จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการชาวรือเสาะสุขภาพดี ห่างไกลควันบุหรี่มือสอง ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพและพิษภัยจากควันบุหรี่มือสอง

เด็กและผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพและพิษภัยจากควันบุหรี่มือสอง ร้อยละ 60

70.00 50.00
2 เพื่อตรวจปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ และการตรวจระดับโคตินินในปัสสาวะ

นักเรียนได้รับการตรวจปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ และการตรวจระดับโคตินินในปัสสาวะ ร้อยละ 100

80.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,320.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้ 0 24,320.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 ตรวจปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ และการตรวจระดับโคตินินในปัสสาวะ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพและพิษภัยจากควันบุหรี่มือสอง 2.ลดอัตรานักสูบหน้าใหม่ในวัยรุ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2565 00:00 น.