กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลเมืองตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2566
รหัสโครงการ 66L7487115
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวาสนา กาญจนะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงศักดิ์ อินน้อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากการใช้สารเสพติด พบว่า ถ้าร่างกายได้รับสารพิษ เช่น กัญชา มอร์ฟีน ฝิ่น
โคเดอีน ยานอนหลับ แอมเฟตามีน(ยาบ้า) เมื่อใช้สารต่าง ๆ เหล่านี้จนติด หากไม่ได้กินยาหรือเสพจะทำให้เกิดอาการแปรปรวนของจิตได้ เช่น หงุดหงิด ทุรนทุราย หาวนอน ประสาทหลอน หมดความละอาย ก้าวร้าว ชอบทะเลาะวิวาท คุมสติไม่อยู่และมักทำร้ายร่างกายผู้อื่น อาการทางจิตมีทั้งอาการเฉียบพลันและอาการรุนแรง ซึ่งการดำเนินโรคเป็นแบบเรื้อรัง เป็นโรคที่มีความผิดปกติด้านความคิด การรับรู้ อารมณ์และพฤติกรรม (สุวนีย์,2554;  อรพรรณ,2554) อุบัติการณ์การเกิดโรคจิตเภทในประเทศไทยพบผู้ป่วยประมาณ 15.2 ต่อ 100,000 คนต่อปี
และประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะเจ็บป่วยเรื้อรังไม่หายขาดและร้อยละ 70 มีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูง (กรมสุขภาพจิต,2555) สำหรับสถานการณ์โรคจิตเภท ในอำเภอ ตากใบปี 2557 - 2560 มีผู้ป่วยจิตเภททั้งหมด 270 , 275และ 287 คนตามลำดับ ซึ่งค่ารักพยาบาลในส่วนของผู้ป่วยนอกเฉลี่ยในผู้ป่วยจิตเภททั้งหมด 3,000 – 5,000 บาทต่อคนต่อปี (ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลตากใบ, 2560) จะเห็นได้ว่ารัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาการักษาพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทเป็นเงินจำนวนมาก จากการที่ผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำ ควบคุมอาการไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยและญาติ พบว่ามีจำนวนหนึ่งที่พยายามแสวงหาทางช่วยเหลือโดยการนำผู้ป่วยไปทำพิธีทางไสยศาสตร์ เช่น การดื่มยาต้ม การเป่าเสก น้ำมนต์ การทำพิธีขับไล่ผี/วิญญาณ และเมื่อรักษาไปแล้วผู้ป่วยยิ่งมีอาการไม่ดีขึ้นก็จะไม่กล้านำผู้ป่วยกลับเข้ามารักษาต่อในโรงพยาบาล  แต่จะนำผู้ป่วยไปล่ามขังแทน ส่งผลให้ผู้ป่วยกำเริบหนักมากขึ้นและอาการทางจิตผู้ป่วยยิ่งแย่ลง(บุษกร, 2557) จากข้อมูลการดำเนินงานในคลินิกจิตเวชของโรงพยาบาลตากใบในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วย จิตเวชเพิ่มขึ้นจำนวน 572 คน และเป็นผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้สารเสพติดจำนวน 58 คน ซึ่งปัญหาที่พบในผู้ป่วยคือการกลับเป็นซ้ำและการมีพฤติกรรมรุนแรงทำร้ายตนเองและบุคคลอื่นๆ ส่งผลให้ไม่สามารถนำผู้ป่วยส่งมารับบริการที่โรงพยาบาลได้ จากปัญหาดังกล่าวจึงได้ประชุมคณะกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดขึ้น โดยมีเนื้อหาการใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และ 2562 มีสาระเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิ์ของผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษา และบทบาทของเจ้าพนักงานในการนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการดูแลรักษา ได้อย่างทันท่วงที และไม่ก่ออันตรายแก่บุคคลในครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลเมืองตากใบจังหวัดนราธิวาส ปี 2566 นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติด ได้รับการดูแลรักษาและควบคุมอาการทางจิตได้ และไม่มีพฤติกรรมรุนแรงต่อบุคคลในชุมชน  

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคทางจิตเวช ได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติดได้รับการรักษาอาการทางจิตและกลับสู่ภาวะปกติ 4. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติดได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน/ผู้นำชุมชน
  3. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์และสถานที่
  4. กำหนดกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆดังนี้   - บรรยายวิชาการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากสารเสพติดแก่ อสม./ผู้นำชุมชน ในเขตตำบลเจ๊ะเห
      โดย นพ.โนราห์ ทัศนสุวรรณ จิตแพทย์เฉพาะทางจิตเวช   - ส่งเสริมให้ อสม./ผู้นำชุมชน ติดตามกำกับการกินยาและรับยาตามแผนการรักษา
    1. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดลดลง
  2. ผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดได้รับการส่งต่อรักษาพยาบาล
  3. ครอบครัว ชุมชนปลอดภัยจากพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2565 12:33 น.