กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชมรมผู้สูงอายุสะเดา ส่งเสริมสุขภาพกายใจวัยเก๋า ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L7252-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุสะเดา
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 70,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกานดา สินรักษา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวยารีตา อะดีนสกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพการณ์ในปัจจุบันปัญหาต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจสังคมได้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน  ในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากสังคมที่สงบที่มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กลับกลายเป็นสังคม  ที่วุ่นวายซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในชุมชนที่เห็นได้ชัดเจน คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เพราะเป็นวัยที่พ้นจากวัยแรงงานจึงมักถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพัง ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนขาดความสุขทางใจ เกิดโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุจึงต้องหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเมื่อมีอารมณ์เศร้าเกิดขึ้น ควรพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่พึงพอใจและเป็นประโยชน์ เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่น รวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน ร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลง เป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เบียดเบียน สิ่งสำคัญคือ การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึงมีผลต่อสุขภาพกาย จิตและใจ ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุสะเดา เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการชมรมผู้สูงอายุสะเดา ส่งเสริมสุขภาพกายใจวัยเก๋า ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ    ให้ผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต ร่วมกันทำกิจกรรมที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม อีกทั้งได้รับความรู้และเสริมสร้างทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งมีความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑ เพื่อให้การดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุสะเดามีความต่อเนื่องและยั่งยืน ๒.๒ เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้ สร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย ๓.๓ เพื่อให้สมาชิกได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง

๓.1 มีการจัดระดมความคิดของชมรมผู้สูงอายุสะเดาอย่างต่อเนื่อง ๓.2 ร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม ๓.๓ จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า ร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมายในแต่ละกิจกรรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๕.๑ ขั้นเตรียมการ ๕.๑.๑ ระดมความคิดคณะกรรมการบริหารชมรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๕.๑.๒ วางแผนกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษาชมรม ๕.๑.๓ จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา เพื่อพิจารณาอนุมัติ ๕.๒ ขั้นเตรียมการ ๕.๒.๑ กิจกรรมระดมความคิดคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุสะเดา ในการบริหารชมรม ๕.๒.๒ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางกายและใจ (กิจกรรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อและสร้างสมาธิ กิจกรรมการดูแลสุขภาพ กิจกรรมทางกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านจิต กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ด้านร่างกาย) ๕.๓ ขั้นสรุปผลและประเมินผล ๕.๓.๑ ติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๐.1 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมด้วยความปกติสุข ๑๐.2 ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในชมรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2565 13:20 น.