กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนบ้านค่ายร่วมใจ “หนึ่งร้อยวัน....สลัดมันให้หลุด”
รหัสโครงการ 66-L3323-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 7 ตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 19,805.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกษมสุข ไชยผล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านค่าย หมู่ที่ 7 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จากข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 48 คนที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข นั้น พบว่าผลจากการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มนี้ มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในจำนวนที่เกินครึ่งของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นปัญหาหลักทางด้านสาธารณสุขที่มีสาเหตุมาจากการใช้วิถีชีวิติและพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น กินจุบกินจิบ กินเกิน กินหวาน กินมัน ขาดการออกกำลังกาย กินอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน ไม่กินผักผลไม้ ภาวะความเครียด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น หากประชาชนกลุ่มนี้ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน พฤติกรรมการขยับกาย ออกกำลังกาย อาจจะทำให้เกิดโรคที่รุนแรงกับสุขภาพได้
    จากสาเหตุของปัญหาของคนในช่วงวัยดังกล่าว ขาดความรู้ในเรื่องของอาหารการกิน ปริมาณอาหารที่กิน การขยับกาย การออกกำลังกาย เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและสิ่งที่จะส่งผลให้ร่างกายมีภาวะที่เสี่ยง การควบคุมน้ำหนักตัว และค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมกับวัย และส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มนี้และคนในชุมชนได้มีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย การตรวจคัดกรองวัดค่าดัชนีมวลกาย การออกกำลังกาย
ดังนั้น ทางแกนนำ อสม.ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลพนางตุง ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในช่วงวัยนี้ มีความเห็นตรงกันว่า เรื่องสุขภาพเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงได้จัดทำโครงการ” คนบ้านค่ายร่วมใจ หนึ่งร้อยวันสลัดมันให้หลุด” นี้ขึ้น โดยจะเน้นการควบคุมดัชนีมวลกายที่เหมาะสมกับวัย และการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคของคนในชุมชน

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหลักสมัครเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 35 คน
2.ประชาชนลุ่มเป้าหมายหลัก ร้อยละ 50% มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคลดลง ดัชนีมวลกายเหมาะสมกับช่วงวัย

2 2.เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชน ออกกำลังกาย มีร่างกายที่สมส่วน แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

1.คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมในการออกกำลังกายคลอบคลุมทุกช่วงวัย
2.คนในชุมชนสามารถทำกิจกรรมออกกำลังกายได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

3 3.เพื่อสร้างพื้นที่ให้คนในชุมชน ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

1.ชุมชนสามารถเอื้อพื้นที่สาธารณะ จำนวน 1 จุดให้คนในชุมชนสร้างกระบวนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 135 19,805.00 0 0.00 19,805.00
3 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 1. กิจกรรมตรวจสุขภาพ / คัดกรองข้อมูลด้านสุขภาพ และรับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 50 4,050.00 - -
3 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 2 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ พฤติกรรมการกิน ทักษะการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย 35 3,915.00 - -
3 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 3 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิค 0 3,000.00 - -
3 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 4. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ/ปิดโครงการ 50 8,840.00 - -
รวมทั้งสิ้น 135 19,805.00 0 0.00 19,805.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหลัก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพได้ 2.ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น 3.ชุมขนได้ทราบข้อมูล และสามารถวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565 11:11 น.