กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักษ์สุขภาพกับคลินิกใกล้บ้าน ปี 2566
รหัสโครงการ L3355-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรุณา วิสโยภาส
พี่เลี้ยงโครงการ นางจำนรรจา ช่วยเนียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการโครงการคลินิกรักษ์สุขภาพใกล้บ้าน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 38.80ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้คิดเป็นร้อยละ 40 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 มีการทำงานของไตดีขึ้นเพียง ร้อยละ 75 ผู้ป่วย 3 กลุ่มนี้ จำเป็นต้องฟื้นฟูเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองแบบเข้มข้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นโรคดังกล่าว ชมรม อสม.ต.ท่ามิหรำ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 กลุ่มนี้หลังเสร็จสิ้นโครงการ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 34.40 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ร้อยละ 24 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 มีการทำงานของไตดีขึ้นร้อยละ 75.5 ในปีงบประมาณ 2565 ชมรม อสม.ต.ท่ามิหรำและรพ.สต.บ้านน้ำเลือด และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ดี คลีนิครับยาโรคเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านน้ำเลือดจึงควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองแบบเข้มข้นสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 และผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักในการดูแลตนเองได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผูป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ ร้อยละ 70 ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ร้อยละ 45 ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง มีค่าไขมันที่ปกติ ร้อยละ 70

70.00 40.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 10

20.00 10.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่าการทำงานของไตดีขึ้น

ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม เมื่อติดตามซ้ำการทำงานของไตดีขึ้น ร้อยละ 60

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,650.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะสุขภาพ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อม 0 24,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตางในเลือดให้ปกติ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม เมื่อติดตามซ้ำการทำงานของไตดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2565 00:00 น.