กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 66-L8291-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤษภาคม 2566
งบประมาณ 29,046.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคงเกียติ อร่ามเรือง ตำแหน่งประธานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนจำนนประชาชนวัยทำงานและวัยเด็กลดลง โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสังคมที่เข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" (Aging Society) โดยเมื่อถึงวัยสูงอายุสภาพร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการปรับตัว และที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้นสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ปัญหาด้านสุขภาพก็จะตามมา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องการดูแลสุขภาพในเรื่องของโรคเรื้อรังได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่องและการดูแลสุขภาพจิต มีปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ให้เลี้ยงดูบุตรหลานตามลำพัง ผู้สูงอายุบางรายอาจเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้ ผู้สูงอายุ จึงถือว่าเป็นปูชนีบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสีบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตตั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมามากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกาย เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ผู้สูงอายุควรมีการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอ การนำหลักธรรมของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิต ,การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมสุขภาพ , การตรวจคัดกรองเบื้องตัน และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ , การฝึกอาชีพเพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ชมรมผู้สูงอายุ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการ "พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประจำงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟู สมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง มากยิ่งขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 29,046.00 1 29,046.00
6 ม.ค. 66 อบรม ให้ความรู้ 60 29,046.00 29,046.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง มีการพื้นฟู สมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ๒. ผู้สูงอายุมีขวัญ และกำลังใจที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมิ ๓. ผู้สูงอายุ ได้มีกิจกรรมร่วมกัน ลดภาวะการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยกัน ได้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2565 09:09 น.