กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสโครงการ 66-L3323-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา)
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 48,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายระพิน ชูทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆประเทศ ในประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัดของเสียอันตรายจากบ้านเรือน ที่เป็นแหล่งกำเนิดของของเสีย อันตราย จากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ขยะถูกกำจัดหรือปล่อยทิ้งสู่ท่อน้ำเสีย หรือระบายสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร เกิดจากการอุปโภค บริโภค กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน ตลาด ร้านค้าและโรงงาน ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากขยะจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมากและจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจากขยะเทกองที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิต ความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำ เป็นต้น รัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากการบริหารจัดการขยะของไทยที่ผ่านมามีปัญหาขยะตกค้างตามชุมชนหรือท้องที่ต่างๆ มากมาย และจากการอุปโภค บริโภคของประชาชนในชีวิตประจำวันทำให้ขยะเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นรัฐบาลจึงเห็นความสำคัญในการดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหาขยะของประเทศ "ปัจจุบันประเทศไทยใช้งบประมาณในการจัดเก็บขยะถึง ปีละประมาณเกือบ 18,000 ล้านบาทต่อปี กระทรวงมหาดไทย จึงรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะเป็น 3 ประเภท คือ
    1. ขยะพิษ ให้ชุมชนมีจุดทิ้งขยะพิษ เป็นศูนย์กลางในการทิ้งขยะอันตรายเพื่อส่งต่อไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการดำเนินการส่งไปทำลายอย่างถูกต้อง     2. ให้มีถังขยะประเภททั่วไปตามที่ต่างๆ ในชุมชน หรือครัวเรือน สำหรับทิ้งขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้
    3. ขยะเปียก ให้แต่ละครัวเรือนแยกทิ้งขยะเปียกหรือขยะที่ย่อยสลายได้ของแต่ละ ครัวเรือน ในที่ที่เหมาะสม หรือหลังบ้าน  ทำเป็นปุ๋ยหมัก
    โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) ได้ตระหนักถึงปัญหาของปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นและเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการขยะ ประกอบกับปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องรีบแก้ปัญหารอย่างเร่งด่วน ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลเพื่อให้โรงเรียนลดปริมาณการเกิดขยะจากโรงเรียนโดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) สร้างแรงจูงใจให้ครูและนักเรียนในการร่วมกันคัดแยกขยะในโรงเรียนเพื่อสร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมของโรงเรียนในการบริหารจัดการขยะและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในการนี้โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมสนับสนุน สร้างความรู้และความตระหนักให้นักเรียน ครูและบุคลากรในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • การคัดแยกขยะและการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
  • การรณรงค์การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 2 เพื่อให้นักเรียน สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม จากเศษวัสดุที่ได้จากการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม จากเศษวัสดุที่ได้จากการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3 3 เพื่อให้โรงเรียนเป็นแบบอย่างการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้

โรงเรียนเป็นแบบอย่างการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 480 48,400.00 0 0.00
3 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 1. การให้ความรู้และการสร้างความตระหนักการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการให้ความรู้และการสร้างสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมจากเศษวัสดุเบื้องต้น 200 19,900.00 -
3 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 2. การเดินรณรงค์การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 0 3,900.00 -
3 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 3. การให้ความรู้และการปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก 140 11,000.00 -
3 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 4. การให้ความรู้และการสร้างสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมจากเศษวัสดุ 140 13,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) มีความรู้และตระหนักถึงการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2. นักเรียนโรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรม จากเศษวัสดุที่ได้จากการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   3. โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) เป็นแบบอย่างการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2565 11:14 น.